TH EN
A A A

EU ถกความยั่งยืนในการทำประมงและการจัดการมวลปลาที่ย้ายถิ่นที่อยู่

27 พฤษภาคม 2558   

                สหภาพยุโรป (EU) ได้หารือร่วมกับชาวประมงและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมประมงเกี่ยวกับประเด็นการทำประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาพบการทำประมงเชิงพาณิชย์มากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระดับขีดจำกัดทางชีวภาพที่มีความปลอดภัย (safe biological limits) โดยองค์กรผู้ประกอบการประมงในสหภาพยุโรป (Europêche) ได้อ้างถึงรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)  เกี่ยวกับการทำประมงเพื่อการพาณิชย์ในมวลปลาที่ย้ายถิ่นที่อยู่ (commercial fish stocks) ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก (Northeast Atlantic) ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  โดยพบว่าปัจจุบันมีแหล่งที่จับปลามีมวลปลาที่ย้ายถิ่นที่อยู่ (fish stocks) จำนวน 36 แห่ง ที่สามารถจับปลาในระดับสูงสุดที่สามารถรักษาผลผลิตหรือจำนวนประชากรปลาให้คงที่ (Maximum Sustainable Yield : MSY) ได้ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของการพัฒนาความยั่งยืนของการทำประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับปี 2557  ที่มี fish stocks ในระดับ MSY จำนวน 27 แห่ง และปี 2546 ที่มีเพียง 2 แห่ง อันเป็นผลจากการประกาศใช้นโยบายประมงร่วมเมื่อปี 2557 (Common Fisheries Policy 2014) นอกจากนี้ยังพบว่าการทำประมงกับมวลปลาที่ย้ายถิ่นที่อยู่มีสัดส่วนที่ลดลง ในขณะที่การจับปลาในระดับที่ยั่งยืน (sustainable levels) มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น โดยมีสายพันธุ์ปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงหลายสายพันธุ์ อาทิ ปลาเฮอร์ริง (herring) ปลาโซล (common Sole), ปลาทูแขกหรือปลาฮอร์สแมคเคอเรล (horse mackerel) และปลาค็อด (cod)
               ทั้งนี้ผู้อำนวยการของ Europêche ได้ชี้ให้เห็นข้อพิสูจน์ถึงความร่วมมือในการทำประมงของชาวประมงทั่วยุโรปที่มุ่งมั่นรับผิดชอบต่อการสร้างความยั่งยืน โดยจะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (environmental sustainability) และปัจจัยความยั่งยืนด้านอื่นๆเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วย

  
ที่มา: The Fish Site สรุปโดย: มกอช.

 

 

 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?