การประชุมสุดยอดเอเชีย – แอฟริกา (Asian – African Conference) ระหว่างวันที่ 21 – 23 เมษายน 2558 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีการพิจารณาสาระสำคัญในประเด็นการยกเลิกหรือการยุติในการอุดหนุนประมงที่อาจก่อให้เกิดการทำผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU) โดยมีกระทรวงกิจการทางทะเล (The Ministry of Maritime Affairs) ของอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (The World Trade Organization: WTO) ได้กระตุ้นให้ประเทศสมาชิก WTO มีการลดหรือยกเลิกในการให้การอุดหนุนที่ทำประมงที่อาจเกิด IUU ดังนี้
-การทำประมงบางประเภทที่มีกำลังผลิตมากเกินไป (Overcapacity)
-การทำประมงมากเกินไป (Overfishing)
นอกจากนี้ให้มีการพิจารณาเพื่อกำหนดมาตรการที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิกใน WTO ระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในการจัดการปัญหาการอุดหนุนการทำประมงที่อาจเกิด IUU เนื่องจากมีความแตกต่างกันทางทรัพยากรทางทะเล เครื่องมือและเทคโนโลยีในการทำประมง ทำให้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ในการลดผลกระทบและการป้องกันมลพิษทางทะเล อาทิ ปรากฎการณ์ทะเลกรด (Ocean acidification) เนื่องจากปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้น ลงไปละลายอยู่ในน้ำทะเล ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ละลายลงไปในน้ำทำให้ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เปลี่ยนไป
ที่มา: The Fish Site สรุปโดย: มกอช.