TH EN
A A A

EFSA แจ้งไวรัสอีโบล่าไม่มีผลเสี่ยงกับผัก ผลไม้จากแอฟริกา

8 เมษายน 2558   

                ปัจจุบันสินค้าอาหารสดรวมทั้งพืช ผักและผลไม้ ที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) จะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ซึ่งสามารถประเมินความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อไวรัสอีโบล่า (Ebola virus transmission) รวมถึงระยะเวลาที่เชื้อไวรัสสามารถอยู่รอดในอาหารได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้บริโภคยังไม่สามารถทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสอีโบล่าจากการบริโภคและทาง EU ยังไม่มีรายงานที่พบว่าเชื้อไวรัสสามารถส่งผ่านทางอาหารที่ผ่านการให้ความร้อนหลายขั้นตอนแต่อย่างใด
                โดยส่วนใหญ่อาหารที่ส่งออกจากแอฟริกาไปยังสหภาพยุโรปจะต้องได้รับการตรวจสอบทั้งการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสจากแหล่งกำเนิด การอยู่รอดของเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนในอาหาร รวมทั้งกรณีหากเกิดการตรวจพบผู้ติดเชื้อจากการบริโภคอาหารที่มีเชื้อไวรัสดังกล่าว ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จาก EFSA จึงได้มีการจัดทำรายงานประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับอาหารที่นำเข้าจากประเทศแถบแอฟริกากลาง โดยร่วมมือกับหลายหน่วยงาน อาทิ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) และผู้เชี่ยวชาญภายนอก ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง EFSA ได้เคยจัดทำรายงานการติดต่อของเชื้ออีโบล่าจากการเนื้อสัตว์ป่าที่บริโภคได้ (bush meat) ที่มีการลักลอบนำเข้า EU อย่างผิดกฏหมายพบว่ามีการติดเชื้ออีโบล่าในระดับต่ำ ซึ่งที่ผ่านมาพบการระบาดของไวรัสอีโบล่าสายพันธุ์ Zaire Ebola virus (EBOV) เกิดขึ้นใน 9 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, กาบอง, กินี , ไลบีเรีย, มาลี, ไนจีเรีย, เซียร์ราลีโอน และประเทศเซเนกัล แต่จากผลการรายงานประเมินความเสี่ยงดังกล่าวแจ้งว่าประเทศเหล่านี้สามารถส่งออกผลไม้และผักรวมถึงมันฝรั่งไปยังสหภาพยุโรปได้และไม่พบการติดเชื้อของโรคไวรัสอีโบล่าในพืชผักที่มาจากแถบแอฟริกา
                ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะสามารถยับยั้งการระบาดของโรคไวรัสอีโบลาได้ในช่วงฤดูร้อนนี้ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 24,000 คน และเสียชีวิตแล้วถึง 10,000 คน


ที่มา: Food Safety News สรุปโดย: มกอช.

 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?