TH EN
A A A

ญี่ปุ่นผลักดันการควบคุมโรคปศุสัตว์ในเอเชียใต้

31 ตุลาคม 2557    4845 ครั้ง

                The Japan Fund for Poverty Reduction เป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เตรียมใช้งบประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯในการยับยั้งการแพร่กระจายของโรคปากเท้าเปื่อยและโรคไข้หวัดนกซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกร คิดเป็นมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมา โดยจะดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างสมาชิกในประเทศแถบเอเชียใต้เพื่อสนับสนุนการควบคุมโรคระหว่างพรมแดนประเทศสมาชิก
                การเลี้ยงสัตว์นั้นเป็นทั้งแหล่งอาหารและแหล่งรายได้ของเกษตรกร นอกจากนี้ยังถือหลักประกันสำคัญเมื่อเกิดปัญหาผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้ตามที่คาดการณ์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล มาตรฐานในการตรวจสอบระดับภูมิภาค การป้องกันและการควบคุมโรคระบาด จะช่วยส่งเสริมรายได้ของเกษตรกรและการยกระดับความปลอดภัยอาหาร ทำให้มีความปลอดภัยของการซื้อขายปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ข้ามพรมแดน            
                ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เกือบหนึ่งในสามของเอเชียใต้นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ด้านปศุสัตว์ โดยคาดการณ์ชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคต้องผลิตเนื้อสัตว์ 4 ล้านตัน และนม 65 ล้านตัน เพิ่มทุกปี จนถึงปี 2563 เพื่อรองรับผู้บริโภค สรุปผลกระทบและความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านโรคระบาดสัตว์ของประเทศเอเชียใต้ ดังนี้
                • อินเดีย สูญเสียสัตว์เลี้ยงกับโรคปากเท้าเปื่อยมูลค่าประมาณ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
                • บังคลาเทศ สูญเสียสัตว์ปีกจากไข้หวัดนกมูลค่าประมาณมากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
                • เนปาล จัดตั้งศูนย์ระบาดวิทยาในระดับภูมิภาค ที่เมืองกาฐมาณฑุ โดยได้รับการสนับสนุนจากห้องปฏิบัติการในบังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน จะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการด้านสุขภาพสัตว์ระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเกิดโรคในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักให้เหลือ 30% ในปี 2561 จาก 50% ในปี 2555 และยกระดับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชให้เข้าสู่ระดับสากล

 


ที่มา : The Cattle Site สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?