เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2557 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) No 952/2014 มีสาระสำคัญคือ
1. แก้ไข Part 1 Annex I ของ Commission Regulation (EC) No 798/2008 ซึ่งกำหนดบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่สามารถส่งออกสัตว์ปีก ลูกไก่ที่มีอายุ 1 วัน ไข่ฟัก เนื้อสัตว์ปีก เนื้อสัตว์ปีก กลุ่มที่บินไม่ได้ที่เลี้ยงในฟาร์มและไข่ ไปยังสหภาพยุโรปได้ โดยเตรียมอนุญาตให้มาเลเซียสามารถส่งออกไข่ไปยังสหภาพยุโรปภายหลังมาเลเซียเสนอแผนควบคุมเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella) ในไข่ให้กับ EU
ทั้งนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถส่งออกไข่ไปยังสหภาพยุโรปได้เนื่องจากติดขัดในข้อกำหนดด้านแผนควบคุมเชื้อซัลโมเนลลา เช่นกัน
2. กำหนดแบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสำหรับเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกขึ้นใหม่ ตามที่ปรากฏในภาคผนวกของกฎระเบียบนี้ ดังนี้
2.1 Model veterinary certificate for breeding or productive poultry other than ratites (BPP)
2.2 Model veterinary certificate for breeding or productive ratites (BPR)
2.3 Model veterinary certificate for day-old chicks other than ratites (DOC)
2.4 Model veterinary certificate for day-old chicks of ratites (DOR)
2.5 Model veterinary certificate for hatching eggs of poultry other than ratites (HEP)
2.6 Model veterinary certificate for hatching eggs of ratites (HER)
2.7 Model veterinary certificate for slaughter poultry and poultry for restocking game supplies other than ratites (SRP)
2.8 Model veterinary certificate for slaughter ratites (SRA)
2.9 Model veterinary certificate for meat of poultry (POU)
2.10 Model veterinary certificate for meat of farmed ratites for human consumption (RAT)
2.11 Model veterinary certificate for egg (E)
3. กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในใบรับรองสุขอนามัย (Health certificate: HC) แต่ละประเภทดังนี้
3.1 เพิ่มข้อความเงื่อนไขในใบ HC ให้มีการรับรองเกี่ยวกับโรคนิวคาสเซิล (Newcastle disease) โดยให้หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศผู้ส่งออกให้การรับรองข้อมูลเพิ่มเติมในใบ HC เกี่ยวกับวัคซีนที่ใช้ (ชื่อวัคซีน ชนิดวัคซีน และวันที่ฉีดวัคซีน) ด้วย
3.2 เพิ่มข้อความเงื่อนไขในใบ HC ให้มีการรับรองเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำ (LPAI) ในเนื้อสัตว์ปีกกลุ่มที่บินไม่ได้ (ratites) ที่เลี้ยงในฟาร์ม (RAT)
3.3 เพิ่มข้อความเงื่อนไขในใบ HC ให้มีการรับรองเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำ (LPAI) ในลูกไก่ที่มีอายุ 1 วัน และไข่ฟักจากประเทศที่สามว่ามีความเท่าเทียมกับข้อกำหนดใน EU รวมทั้งมีการกำหนดเขตรัศมี 1 กิโลเมตรจากจุดที่ระบาดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของทางการในกรณีที่มี การระบาดเกิดขึ้นด้วย โดยให้ครอบคลุมถึงสินค้าเนื้อสัตว์ปีกทุกชนิดและสัตว์ปีกกลุ่มที่บินไม่ได้ที่มีชีวิตด้วย
3.4 เพิ่มข้อความเงื่อนไขในใบ HC ให้มีการรับรองเกี่ยวกับแผนควบคุมเชื้อซัลโมเนลลาของประเทศที่สามว่าเท่าเทียมกับแผนควบคุมเชื้อซัลโมเนลลาของ EU
3.5 เพิ่มรหัส HS สำหรับกึ๋น (gizzard) และกระเพาะ ภายใต้รหัส 05.04 ที่ต้องระบุในช่อง I.19 ของใบรับรองสุขอนามัยเนื้อสัตว์ปีก (POU) นอกเหนือไปจากรหัส HS 02.07 และ HS 02.08 ที่มีอยู่เดิม
3.6 แก้ไขแบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยสำหรับการส่งออกไข่ไปยังสหภาพยุโรป เพื่อให้ เหมือนกับแบบฟอร์มนำเข้าไข่ของประเทศเดนมาร์กที่มีการเพิ่มข้อกำหนดพิเศษเกี่ยวกับการให้หลักประกัน ว่าปลอดการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาโดยให้อิงตาม Commission Implementing Regulation (EU) No 427/2012
4. กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลทางกฎหมาย 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 13 กันยายน 2557) โดย EU อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้สามารถใช้ HC ฉบับเดิม (ตาม Regulation (EC) No 798/2008) ที่ออกให้ก่อนวันที่ 14 มกราคม 2558 ประกอบการนำเข้าได้จนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2558 รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่ : http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L:2014:273:FULL&from=EN
ที่มา : Thaieurope.net สรุปโดย : มกอช.