TH EN
A A A

EU แก้ไขการติดฉลากปลอดกลูเตน

4 กันยายน 2557   

                สหภาพยุโรปแก้ไข Regulation (EU) No 828/2014 โดยได้กำหนดให้ระบุสินค้าอาหารที่ปราศจากกลูเตนหรือมีกลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก ดังนี้
                 • แป้งของพืชสกุล Triticum อาทิ แป้ง  durum, แป้งสเปลท์, แป้ง khorasan wheat, ข้าวไรน์ และข้าวบาร์เลย์ เป็นแป้งที่มีกลูเตนอยู่ปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคที่มีโรคแพ้กลูเตน (celiac disease) จึงควรให้ข้อมูลว่าสินค้านั้นๆ ปราศจากกลูเตนหรือมีกลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มที่เป็นโรคแพ้กลูเตน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและไม่สร้างความสับสน
                 • การติดฉลากโดยระบุว่า “ปลอดกลูเตน” สามารถทำได้ต่อเมื่อสินค้าอาหารมีการเจือปน ของกลูเตนไม่เกิน  20 mg/kg
                 • การติดฉลากโดยระบุว่า “กลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก” หรือ “เหมาะสำหรับผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อกลูเตน” หรือ “เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคแพ้กลูเตน” สามารถกระทำได้ต่อเมื่อสินค้าอาหารมีส่วนประกอบของแป้งสาลี ข้าวไรน์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต หรือพืชสายพันธุ์ผสมและได้ผ่านกระบวนการปรับลดปริมาณกลูเตนหรือมีส่วนผสมขององค์ประกอบที่มีการปรับลดกลูเตนแล้ว และสินค้าอาหารในขั้นตอนสุดท้ายที่จะจำหน่ายให้ผู้บริโภคจะต้องมีกลูเตนอยู่ไม่เกิน 100 mg/kg
                 • การติดฉลากโดยระบุว่า .ผ่านการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อกลูเตนโดยเฉพาะ” หรือ “ผ่านการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคแพ้กลูเตนโดยเฉพาะ” สามารถกระทำได้ต่อเมื่อ
                    - มีส่วนประกอบหนึ่งหรือหลายรายการที่ได้ผ่านกระบวนการปรับลดปริมาณกลูเตนแล้ว
                    - มีการใช้ส่วนประกอบอื่นที่ปลอดกลูเตนโดยธรรมชาติทดแทนส่วนประกอบที่มีกลูเตนที่มีอยู่เดิม
               • ข้าวโอ๊ตที่ผสมอยู่ในอาหารประเภทปลอดกลูเตนหรือมีกลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมากต้องได้รับ การผลิต เตรียม และ/หรือผ่านกระบวนการด้วยวิธีการที่ต้องหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนแป้งสาลี ข้าวไรน์ ข้าวบาร์เลย์หรือพืชสายพันธุ์ผสม และห้ามมีกลูเตนอยู่เกิน 20 mg/kg
               • ตาม Commission Directive 2006/141/EC ห้ามใช้ส่วนประกอบที่มีกลูเตนเจือปนในการผลิตนมสำหรับทารกและนมสำหรับเด็กเล็ก ดังนั้น จึงห้ามติดฉลากว่า “ปราศจากกลูเตน” “มีกลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก” ในสินค้านมสำหรับทารกและนมสำหรับเด็กเล็กด้วย

              ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2559 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32014R0828&from=EN

 

ที่มา : สปษ.บรัสเซลส์ สรุปโดย : มกอช.

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?