TH EN
A A A

USFDA-EFSA เดินหน้าเรื่อง acrylamide ปนเปื้อนในอาหาร

19 พฤศจิกายน 2556   
                 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ประกาศร่างคำแนะนำเกี่ยวกับการลดปริมาณสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ที่ปนเปื้อนในอาหาร โดยมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งในเรื่องวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และส่วนประกอบของอาหารที่มีผลกระทบต่อวัตถุดิบกลุ่มมันฝรั่ง ธัญพืช และกาแฟ โดยจะแนะนำขั้นตอนวิธีการที่เหมาะสมสำหรับผู้ปลูก ผู้ผลิต ไปจนถึงผู้ให้บริการอาหารเพื่อลดปริมาณ acrylamide ในอาหาร
                โดยสามารถศึกษาร่างคำแนะนำของ USFDA ได้ที่ http://www.fda.gov/downloads/Food/GuidanceRegulation/GuidanceDocumentsRegulatoryInformation/ChemicalContaminantsMetalsNaturalToxinsPesticides/UCM374534.pdf
                 ในช่วงเวลาเดียวกัน ฝั่งสหภาพยุโรปโดยหน่วยงานความปลอดภัยอาหาร (EFSA) ก็ได้เตรียมประกาศปรับปรุงค่าการปนเปื้อนของสาร acrylamide จากที่กำหนดไว้เดิมในปี 2554 โดยครอบคลุมผลิตภัณฑ์ในกลุ่มใกล้เคียงกับที่ USFDA ประกาศร่างคำแนะนำ
                โดยสามารถศึกษาได้ที่  http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2013:301:0015:0017:EN:PDF
                ทั้งนี้ หน่วยงาน EFSA ได้จัดให้สาร acrylamide เป็นสารที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดมะเร็งตั้งแต่ปี 2548 หลังพบการแจ้งเตือนความปลอดภัยเกี่ยวกับสารนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2545 โดยพบการปนเปื้อน acrylamide ในอาหารบางชนิดที่ปริมาณสูงกว่า 500 เท่า ของค่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้สำหรับการปนเปื้อนในน้ำดื่ม อาหารที่มีโอกาสจะพบ acrylamide ในปริมาณที่สูงได้แก่ อาหารประเภทแป้งที่ผ่านการทำให้สุกที่อุณหภูมิสูง จากทั้งวิธีการทอด อบ และย่าง เช่น มันฝรั่งทอด คุกกี้ ธัญพืชอบกรอบ ไปจนถึงกาแฟคั่วบด
 
 
 
ที่มา : FoodNavigator สรุปโดย : มกอช.
 
 
 
 
 
 
 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?