TH EN
A A A

นักวิจัย EU พัฒนาตัวอย่างมาตรฐานเพื่อทดสอบ PAPs

6 พฤศจิกายน 2556   

                เมื่อปี 2544 สหภาพยุโรปได้ระงับการอนุญาตการใช้โปรตีนแปรรูปจากสัตว์ (Processed Animal Proteins: PAPs) ทุกชนิดเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปนเปื้อนเชื้อกลุ่ม Transmissible Spongiform Encephalopathies (TSE) เช่น เชื้อวัวบ้า ผ่านการนำผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคไปแปรรูปอย่างไม่ถูกสุขอนามัยและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ทำให้แผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการยุโรปด้าน TSE ปี 2553-2558 เน้นย้ำว่าการยกเลิกข้อห้ามการใช้ PAPs จากสัตว์บางชนิด จำเป็นจะต้องมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ประกอบการพิจารณา
                ดังนั้น ในปี 2552 นักวิจัยจากสถาบัน EU Institute for Reference Materials and Measurements (JRC-IRMM) จึงเริ่มพัฒนาตัวอย่างมาตรฐานในการทดสอบโปรตีนจากสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ปนเปื้อนใน PAPs และสำเร็จเป็นตัวอย่างทดสอบภายใต้ชื่อรหัส IRMM-AD482 ซึ่งมีลักษณะเป็นพลาสมิด (โครงสร้างสารพันธุกรรมของแบคทีเรีย) เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตให้นำโปรตีนแปรรูปจากสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น สุกร และสัตว์ปีก มาใช้เป็นอาหารปลา ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา

 

ที่มา : TheFishSite/EU Institute for Reference  Materials and
Measurements (06/11/56)

 

 

 

 

 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?

ERROR MYSQL NO.:: 126