<DIV align=justify><FONT face="Ms Sans Serif" color=
size=2>
กรมวิชาการเกษตรสั่งห้ามส่งออกพันธุ์กล้ายางไปลาว
ป้องกันพันธุ์กล้ายางในประเทศขาดแคลน
เผยก่อนหน้านี้พบมีการส่งออกทั้งในระบบและลักลอบมากกว่า 2 ล้านต้น
</FONT></DIV>
<DIV align=justify><FONT face="Ms Sans
Serif" color=
size=2>
นายสถิตย์พันธ์ ธรรมสถิตย์ ผอ.สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) หนองคาย
กล่าวถึงความต้องการพันธุ์กล้ายางพาราในพื้นที่ว่าต้องการกล้ายางประมาณ 1.4 ล้านต้น
แต่หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรยกเลิกสัญญากับซีพี
ทำให้กล้ายางในตลาดเกือบทั้งหมดไปอยู่ในมือของบริษัทซีพี อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่
จ.หนองคาย มีการปลูกยางพารามานานแล้ว
จึงทำให้มีเอกชนบางรายเพาะกล้ายางเองจึงทำให้พอมีกล้ายางหลงเหลืออยู่บ้าง
</FONT></DIV>
<DIV align=justify><FONT face="Ms Sans
Serif" color= size=2>แหล่งข่าวในวงการธุรกิจกล้าพันธุ์ยางพารากล่าวว่า
ปัญหาการขาดแคลนพันธุ์กล้ายางพาราในขณะนี้
นอกจากปัญหาปัญหากล้ายางถูกรายใหญ่ควบคุมแล้ว
พบว่ามีการลักลอบส่งออกกล้ายางไปยังประเทศลาวเป็นจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านต้น
เนื่องจาก มีบริษัทจากต่างประเทศทั้ง ไทย เวียดนาม และจีน
เข้าไปขอสัมปทานพื้นที่เพื่อปลูกยางพาราเกือบ 2 ล้านไร่
ทำให้มีความต้องการกล้ายางพาราสูงมาก </FONT></DIV>
<DIV
align=justify><FONT face="Ms Sans Serif" color=
size=2>
นายนิสิต ศิวกุล หัวหน้าด่านตรวจพืชหนองคาย กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า
ก่อนหน้านี้ทางกรมวิชาการเกษตรได้อนุญาตให้เอกชนสามารถส่งออกกล้ายางพาราได้
แต่จะต้องเป็นพันธุ์ RRIM 600 เนื่องจากเป็นพันธุ์สากล สามารถส่งออกได้ปกติ
แต่ถ้าหากเป็นยางพาราพันธุ์ไทยที่คิดค้นโดยประเทศไทย คือพันธุ์ RRIT 250
และ 251 ไม่สามารถส่งออกได้
ทั้งนี้ที่ผ่านมามีการอนุญาตให้ส่งออกกล้ายางพาราไปยังประเทศลาวแล้วกว่า 1 ล้านต้น
</FONT></DIV>
<DIV align=justify><FONT face="Ms Sans
Serif" color= size=2>จากกรณีการขาดแคลนพันธุ์กล้ายางภายในประเทศ
ทำให้กรมวิชาการเกษตรประกาศห้ามไม่ให้มีการส่งออกพันธุ์กล้ายางพาราไปลาว
ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้</FONT></DIV>
<DIV
align=justify><FONT face="MS Sans Serif"
size=2></FONT> </DIV>
<DIV
align=justify><FONT face="MS Sans Serif"><FONT
size=2>ที่มา : <FONT face="Ms Sans
Serif">กรุงเทพธุรกิจ</FONT></FONT></FONT></DIV>