TH EN
A A A

EU ออกกฎหมายเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับใช้ทางการแพทย์และอาหารควบคุมน้ำหนัก

29 กรกฎาคม 2556   

                EU ออกกฎหมายเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับใช้ทางการแพทย์และอาหารควบคุมน้ำหนัก คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมส่วนประกอบและข้อมูลของอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารสำหรับใช้ทางการแพทย์ และอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนัก ดังนี้
                1. ระเบียบนี้จะควบคุมส่วนประกอบและข้อมูลของอาหารสำหรับเด็กทารกในช่วงเดือนแรกๆ และอาหารเสริมทารก อาหารเสริมที่ใช้แทนนมที่มีพื้นฐานจากธัญพืชสำหรับทารกและเด็กเล็ก  อาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในความควบคุมของแพทย์ และอาหารที่รับประทานแทนอาหารทั่วไปเพื่อการลดน้ำหนัก โดยทั้งหมดนี้จะต้องอยู่ในรูปอาหารสำเร็จรูปที่วางขายภายใน EU เท่านั้น
                2. ส่วนประกอบของอาหารจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและเหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภคตามข้อมูลรับรองทางวิทยาศาสตร์ หากมีสารที่เป็น Engineered Nano-materials จะต้องมีการทดสอบที่เหมาะสมและเพียงพอ
                3. ฉลากติดอาหารและโฆษณาจะต้องระบุข้อมูลการใช้อย่างเหมาะสมไม่ชักจูงให้เข้าใจผิด โดยเฉพาะอาหารสำหรับทารกจะต้องไม่ลดแรงจูงใจในการให้นมจากมารดา และไม่มีภาพทารกหรือภาพอื่นๆ นอกเสียจากในกรณีการแสดงวิธีการใช้
                4.สารในกลุ่ม วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน และ สารอื่นๆที่ใกล้เคียง (สามารถตรวจดูรายชื่อสารต่างๆได้ในลิงค์ ข้อกำหนดด้านล่าง) สามารถใส่ในอาหารได้ในปริมาณที่ระบุในข้อกำหนด
นอกจากนั้นแล้วคณะกรรมาธิการฯ จะออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในเรื่อง การใช้สารฆ่าแมลงและสารฆ่าแมลงตกค้างในอาหารดังกล่าว และเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2558 คณะกรรมาธิการฯ จะเสนอรายงานข้อกำหนดพิเศษสำหรับเครื่องดื่มที่มีนมเป็นพื้นฐานหรือผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันเพื่อเด็กเล็ก รวมไปถึงอาหารที่ใช้สำหรับผู้เล่นกีฬาต่อรัฐสภาฯ และคณะมนตรีฯ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการฯ จะออกแนวทางด้านเทคนิคเพื่อช่วยให้ผู้ดำเนินธุรกิจอาหารโดยเฉพาะ SMEs ให้ดำเนินการตามกฎระเบียบนี้ได้ง่ายขึ้น โดยระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ก.ค. 2559
                ระเบียบฉบับนี้ได้กำหนดกรอบกว้างๆ เกี่ยวกับการอนุญาตและการควบคุมส่วนประกอบและข้อมูลของอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารสำหรับใช้ทางการแพทย์ และอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก โดยภายใน 20 ก.ค. 2559 คณะกรรมาธิการฯ อาจออกฎหมายรองที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หรือ ขยายขอบเขตเพิ่มเติมได้ ซึ่งภายในกรอบเวลานั้น ภาคเอกชนไทยยังมีเวลาในการปรับตัว
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://eurlex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2013:181:0035:0056:EN:PDF

 


ที่มา : Thaieuropean.net (29 ก.ค.56)

 

 

 

 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?

ERROR MYSQL NO.:: 126