กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) ได้จัดการประชุมชี้แจงรายละเอียดการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง และสารปรุงแต่งตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น ครั้งที่ 165 (The 165 th Conference for Promotion of Food Import Facilitation) ในวันที่ 18 เมษายน 2556 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. MHLW พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการใช้สาร Sodium Chlorite (โซเดียมคลอไรต์) เพื่อให้ครอบคลุมผัก ผลไม้ สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ โดยกำหนดปริมาณการใช้ในอาหารส่วนใหญ่ไม่เกิน 1.20 กรัมต่อกิโลกรัม และจะต้องไม่เหลือตกค้างในผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Final Product) โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งข้อคิดเห็นต่อร่างปรับปรุงดังกล่าวผ่าน WTO/SPS Enquiry Point อีเมล์
spsthailand@gmail.com
2. แจ้งความก้าวหน้าในการพิจารณาประเมินสารปรุงแต่งอาหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สิ่งมีชีวิต และมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ Item 1. Revision of Standards for Use of Sodium Chlorite หน้า 4-9
3. ชี้แจงรายละเอียดการควบคุมสารปรุงแต่งตามกฎหมายญี่ปุ่น รายละเอียดดังที่ปรากฎในเอกสาร Precautions for Use of Food Additives in Foods Intended for Japan โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
3.1 สารปรุงแต่งทุกชนิด รวมทั้งสารธรรมชาติ วิตามิน แร่ธาตุ ที่จะใช้ในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหารทุกขั้นตอน จะต้องขึ้นทะเบียนหรืออนุญาตการใช้ตามมาตรฐานที่กำหนดของสารชนิดนั้น
3.2 รายชื่อสารปรุงแต่งที่ขึ้นทะเบียนและที่อนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น จะเป็นไปตาม List of Designated Additives (Attachment 2-4) และ List of Existing Food Additives (Attachment 2-5)
3.3 MHLW เตรียมดำเนินการขึ้นทะเบียนเพื่ออนุญาตการใช้สาร Peracetic Acid Preparations โดยได้พิจารณาผ่อนผันยกเว้นการตรวจสอบสารดังกล่าวในอาหารนำเข้าเป็นการชั่วคราว จนกว่าการดำเนินการทางนิติกรจะแล้วเสร็จ
คลิกดาวน์โหลดเอกสารแนบ
ที่มา : มกอช./สำนักที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ
ประจำกรุงโตเกียว(8 พ.ค.56)