คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก จะทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 38 หน่วยงาน อาทิ หน่วยงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (FSA) ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหาร ไปจนถึงกลุ่มผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้อาหารจากเยอรมนี สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ เป้าหมายของโครงการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยวิธีการวิจัยในเชิงลึกถึงระดับของปฏิกิริยาการก่อภูมิแพ้ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ที่จะเป็นประโยชน์ในการจัดการสารก่อภูมิแพ้ และจะเป็นประโยชน์ต่อพ่อแม่ในการป้องกันอันตรายจากการเกิดภูมิแพ้ในเด็ก ซึ่งมีความเสี่ยงถึงชีวิต ตัวอย่างเช่นในสหราชอาณาจักร มีสถิติผู้เสียชีวิตจากภูมิแพ้ในอาหาร 20 คนต่อปี และมีอัตราผู้ป่วยจากภูมิแพ้อาหารสูงถึง 10 ใน 1,000 คน ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากภาวะ Anaphylaxis (ภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงที่ก่อให้เกิดอาการช็อก)