นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและเยล เผยผลการศึกษาผลกระทบจากการปลูกปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียว่า จากความต้องการน้ำมันปาล์มเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและของขบเคี้ยวที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรเร่งขยายพื้นที่ปลูกจนทำลายพื้นที่ป่าฝนในเกาะบอร์เนียวเป็นวงกว้าง และเกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้การปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องทำการประเมินก่อนต่อใบอนุญาตสัมปทานพื้นที่ปลูกในเขตป่าฝน ซึ่งปัจจุบันเหลือพื้นที่ประมาณ 80% ที่ยังไม่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมควบคู่ไปกับการสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์กรณีพื้นที่ดังกล่าวถูกใช้ในการปลูกปาล์มน้ำมัน
ปัจจุบันอินโดนีเซียมีพื้นที่สัมปทานปลูกปาล์มน้ำมันกว่า 120,000 ตารางกิโลเมตร โดยในบางสัมปทานมีพื้นที่กว่า 100 ตารางกิโลเมตร ซึ่งหากพื้นที่ทั้งหมดถูกนำไปใช้ประโยชน์ จะมีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศถึง 558 ล้านตัน
ที่มา : FoodNavigator (9 ต.ค.55)