นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การที่อินโดนีเซียลดจำนวนท่าเรือนำเข้าผักและผลไม้ จากเดิม 8 แห่ง เหลือเพียง 4 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานซูการ์โน-ฮัตตา ท่าเรือ Belawan เมืองเมดาน ท่าเรือ Makassar เมืองมาคาสซ่า และท่าเรือ Tanjung Perak เมืองสุราบายา ซึ่งท่าเรือดังกล่าวมีระยะทางไกลขึ้น และยังไม่มีห้องเย็นเก็บรักษาคุณภาพสินค้าระหว่างรอการตรวจสอบสินค้าขาเข้า รวมทั้งมาตรการกักกันพืชในรูปผักสดที่เป็นหัวหรือกระเปาะ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าหอมแดง กระเทียม และหอมใหญ่ของไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการที่อินโดนีเซียได้พัฒนาคุณภาพสายพันธุ์หอมแดงให้มีศักยภาพสูงขึ้น ทั้งยังมีผลผลิตออกช่วงเดียวกันกับไทยนั้นก่อให้เกิดปัญหาอย่างยิ่ง ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรได้มีมาตรการแก้ปัญหาในการคัดเลือกและจำแนกสายพันธุ์หอมแดง เพื่อพัฒนาหอมแดงพันธุ์ใหม่ กระจายผลผลิตหอมแดงให้ออกนอกฤดู และผลักดันแหล่งผลิตหอมแดงเข้าสู่ระบบ GAP เพื่อให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยป้อนตลาดส่งออก
ข่าวการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรของอินโดนีเซีย
http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=07&id=10416