ญี่ปุ่นได้พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานการติดฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ รายละเอียดดังนี้
- กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น ได้ประกาศยกเลิกการตรวจสอบความปลอดภัยของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2554 ซึ่งทางกรมสรรพากรญี่ปุ่น (NTA) กำลังดำเนินการพิจารณาอนุญาตให้มะละกอเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการติดฉลากให้อยู่ในหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งมีส่วนประกอบที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม
- กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง แห่งญี่ปุ่น พิจารณาทบทวนมาตรฐานการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แปรรูปจากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์ตามรายละเอียดดังนี้
1) อนุญาตให้ใช้ส่วนประกอบที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์เฉพาะในกรณีที่หาวัตถุดิบสองประเภทข้างต้นได้ยาก
2) ให้นับรวมวัตถุเจือปนอาหารที่ทำจากผลิตภัณฑ์อินทรีย์ รวมเป็นส่วนประกอบในส่วนวัตถุดิบอินทรีย์ด้วย เพื่อประโยชน์ในการคำนวณสัดส่วนวัตถุดิบอินทรีย์ต่อวัตถุดิบทั้งหมด
3) อนุญาตให้สารเคมีที่ผลิตโดยใช้เทคนิคการถ่ายดีเอ็นเอ ในตารางที่ 2 ของมาตรฐาน ในการผลิตที่ไม่ใช่เพื่อเป็นวัตถุดิบในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แปรรูปจากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์
4) อนุญาตให้ใช้สารเคมีนอกตารางที่ 2 ของมาตรฐาน เพื่อควบคุมสัตว์รบกวนในโรงงาน กรณีที่ไม่มีการผลิตหรือเก็บรักษาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แปรรูปจากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์
- NTA ได้ทบทวนมาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร และยาในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แปรรูปจากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์ ตามรายละเอียดดังนี้
1) เพิกถอน DL-tartaric acid และ DL-potassium hydrogen tartrate จากรายชื่อวัตถุเจือปนอาหารในตารางที่ 1 ของมาตรฐาน
2) เพิกถอน น้ำมันจากพืชและสัตว์, เจลาติน, เคซีน, ผลิตภัณฑ์อาหารหมักดองซึ่งใช้เชื้อ aspergillus ที่สกัดจากเห็ดชิตาเกะ, สารสกัดจากสาหร่ายคลอเรลลา, ไคติน, ไขผึ้ง, แร่ซิลิเกต, เบนโตไนต์ และสารสกัดจากพืช ออกจากรายชื่อยาในตารางที่ 2 ของมาตรฐาน
3) เพิ่มเติม แคปไซซิน ลงในรายชื่อยาในตารางที่ 2 ของมาตรฐาน