TH EN
A A A

ฟิลิปปินส์สร้างระบบติดฉลากลายพิมพ์ดีเอ็นเอระบุพันธุกรรมปลา

5 เมษายน 2555   

               
กรมวิชาการเกษตรฟิลิปปินส์กำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับการบันทึกลายพิมพ์ดีเอ็นเอของผลิตภัณฑ์ปลา (dioxyribonucleic acid (DNA) fingerprinting) เพื่อนำไปสร้างระบบติดฉลากลายพิมพ์ดีเอ็นเอระบุชนิด/สายพันธุ์ปลาก่อนที่จะจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

                สถาบันวิจัยและพัฒนาประมงแห่งชาติ (National Research and Development Institute - NFRDI) กล่าวว่า ลายพิมพ์ดีเอ็นเอมีความสำคัญในด้านความปลอดภัยอาหารและสร้างความมั่นใจแก่ตลาดโลกว่าด้วยการตรวจสอบที่มาของผลิตภัณฑ์ประมง ทั้งนี้ ถ้าปราศจากการระบุสายพันธุ์ปลาอย่างถูกต้อง เช่น ระบบติดฉลาก การระบุสายพันธุ์ปลาผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากปลาร่วมสกุล (Genus) ในหลายวงศ์ (Family) มีชนิด (Species) และสายพันธุ์ (Species) ที่ลักษณะคล้ายกันมาก ทำให้ผู้บริโภคต้องเสียเงินด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้

                Mr. Benedict A. Maralit และนักวิจัยร่วมอีก 5 ท่าน แถลงในการสัมมนาวิชาการ Bureau of Agricultural Research (BAR) National Research Symposium (NRS) ว่า การบันทึกลายพิมพ์ดีเอ็นเอผลิตภัณฑ์ประมงสามารถแยกปลาสายพันธุ์ใกล้กัน ที่บอกความแตกต่างได้ยาก โดยเฉพาะปลาขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งเพื่อนำมาตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ  นอกจากนั้น Dr. Mudjekeewis D. Santos นักวิจัยอาวุโสของห้องปฏิบัติการลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (NFRDI Genetic Fingerprinting Laboratory - GFL) ยังกล่าวอีกว่าลายพิมพ์ดีเอ็นเอสามารถระบุผลิตภัณฑ์แปรรูปหรือตัดแต่ง เช่น เนื้อปลาแล่ ที่รับประทานในร้านอาหารว่าเป็นปลาตรงชนิดที่สั่งหรือไม่

                ฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้ผลิตปลารายใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก เป็นอันดับ 9 ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเป็นอันดับ 3 ในการผลิตพืชน้ำ หลักๆ ได้แก่ สาหร่ายทะเล

 
 
ที่มา : TheFishSite (05/04/55)
 
 
 
 
 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?