TH EN
A A A

การบริโภคเนื้อแดงเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง

27 มีนาคม 2555   
               
การศึกษาล่าสุดจากมหาวิทยาลัย Harvard School of Public Health (HSPH) นักวิจัยได้พบว่าการบริโภคเนื้อแดงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง และยังพบอีกว่าการบริโภคแหล่งโปรตีนเพื่อสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปลา ไก่ ถั่ว และพืชตระกูลถั่ว มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต การศึกษาจะมีการเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ของวารสาร Internal Medicine วันที่ 12 มีนาคม 2555

                นาย Au Pan หัวหน้านักวิจัย ภาควิชาโภชนาการของ HSPH กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวเพิ่มเติมหลักฐานความเสี่ยงจากการรับประทานเนื้อแดงปริมาณสูง ซึ่งเชื่อมโยงกับการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งบางชนิดในการศึกษาอื่น 

                คณะนักวิจัยรวมทั้งนักวิจัยอาวุโส Frank Hu อาจารย์ฝ่ายโภชนาการและระบาดวิทยาของ HSPH และเพื่อนร่วมงาน ได้เฝ้าสังเกตผู้เชี่ยวชาญชายจำนวน 37,698 คน เป็นเวลา 22 ปี จากการศึกษาติดตามผลสุขภาพผู้เชี่ยวชาญ และพยาบาลหญิงจำนวน 83,644 คน เป็นเวลา 28 ปี จากการศึกษาติดตามผลสุขภาพพยาบาล ที่ไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ (CVD) และโรคมะเร็ง โดยประเมินผลโภชนการผ่านแบบสอบถามทุกสี่ปี
 จากการศึกษาติดตาม มีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 23,926 ราย โดยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 5,910 ราย และจากโรคมะเร็ง 9,464 ราย การบริโภคเนื้อแดง โดยเฉพาะเนื้อแดงที่ผ่านการแปรรูปมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิต ปริมาณเนื้อแดงที่ไม่ผ่านการแปรรูปที่บริโภคต่อวันเพิ่มอัตราความเสี่ยงของการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 13 และเนื้อแดงแปรรูปคิดเป็นร้อยละ 20 

                ในบรรดาสาเหตุที่ระบุ ความเสี่ยงของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และ ร้อยละ 21 และโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น ร้อยละ10 และร้อยละ 16 การวิเคราะห์เหล่านี้คำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น อายุ ดัชนีมวลกายการ การออกกำลังกาย ประวัติโรคหัวใจของคนในครอบครัว หรือโรคมะเร็ง

                การบริโภคแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพแทนการบริโภคเนื้อแดงช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 7 สำหรับปลา ร้อยละ 14 สำหรับสัตว์ปีก ร้อยละ 19 สําหรับถั่ว ร้อยละ 10 สำหรับพืชตระกูลถั่ว ร้อยละ 10 สำหรับผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และร้อยละ 14 สำหรับเมล็ดธัญพืช นักวิจัยคาดว่าร้อยละ 9.3 ของการเสียชีวิตในผู้ชายและร้อยละ 7.6 ในผู้หญิงสามารถป้องกันได้จากการศึกษาติดตามหากผู้เข้าร่วมโครงการศึกษาทั้งหมดบริโภคเนื้อแดงน้อยกว่า 0.5 ปริมาณบริโภคต่อวัน
 
 
ที่มา : Science Daily (27/03/55)
 
 
 
 
 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?