TH EN
A A A

สหรัฐฯกดดันไต้หวัน อนุญาตนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อน ractopamine จากสหรัฐฯ

8 กุมภาพันธ์ 2555   

               
สหรัฐฯ กดดันฝ่ายบริหารของไต้หวันให้ยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนสาร ractopamine หรือสารเร่งเนื้อแดงจากสหรัฐฯ เนื่องจากไต้หวันห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์และการผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศที่ปนเปื้อนสารดังกล่าว โดยพรรคฝ่ายค้านออกมาต่อต้านการยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนสาร ractopamine โดยระบุว่าการอนุญาตนำเข้าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ด้านฝ่ายรัฐบาลกล่าวว่าแม้รัฐบาลกังวลต่อผลกระทบด้านการส่งออกเนื้อวัวของสหรัฐฯ แต่ไม่ว่าจะยกเลิกการห้ามนำเข้าหรือไม่นั้น รัฐบาลจะศึกษาประเด็นนี้อย่างระมัดระวังก่อนที่จะตัดสินใจ เนื่องจากการอนุญาตนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนสาร ractopamine เกี่ยวข้องกับปัญหาสาธารณสุข ความปลอดภัยอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและสหรัฐฯ โดยรัฐสภาไต้หวันจะหารือเรื่องนี้ในการประชุมครั้งแรกในสัปดาห์นี้

               ไต้หวันเป็นตลาดส่งออกเนื้อวัวและเนื้อสุกรใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ไต้หวันเริ่มตรวจการปนเปื้อนสาร ractopamine ในเนื้อวัวจากสหรัฐฯเมื่อเดือนมกราคม 2554 และพบการพบสารดังกล่าวปนเปื้อนที่ 2.4 – 4.07 ppb ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ที่ 30 ppb และ มาตรฐานสากลที่10 ppb แต่เจ้าหน้าที่ไต้หวันได้นำเนื้อวัวดังกล่าวออกจากชั้นวางจำหน่ายเนื่องจากกังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

               ในต้นเดือนมิถุนายน 2554 ไต้หวันปฏิเสธการนำเข้าเนื้อวัวแช่แข็งจากสหรัฐฯเกือบ 100 ตันหลังจากตรวจพบการปนเปื้อน ractopamine ที่ 1.5 ppb หลังจากนั้น 10 วัน ร้าน Burger King ในไต้หวันระงับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเบคอนชั่วคราวหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขไต้หวันตรวจพบผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรจากสหรัฐฯปนเปื้อน ractopamine จึงยึดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก่อนที่จะวางจำหน่ายในตลาด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงฯระบุว่าพบสารดังกล่าวในผลิตภัณฑ์เบคอนปรุงสุกที่ 3 ppb

                ประเด็นการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อวัวปนเปื้อนสาร ractopamine กระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและไต้หวัน นโยบายการห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปนเปื้อนสาร ractopamine เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ทั้ง 2 ประเทศเลื่อนการเจรจากรอบการตกลงทางการค้าและการลงทุน (TIFA) โดยสหรัฐฯ ยืนยันว่านโยบายดังกล่าวของไต้หวันไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

 
 
 
ที่มา :  Food Safety News และ Focus Taiwan (08/02/55)
 
 
 
 
 
 
 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?