TH EN
A A A

สถานการณ์ในญี่ปุ่นหลังการบังคับใช้ Positive List System

3 กรกฎาคม 2549   

               การบังคับใช้ระบบ Positive List ทำให้เกษตรกรญี่ปุ่น ผู้ค้า ผู้นำเข้า ระมัดระวังมาตรฐานของสินค้ายิ่งขึ้น ผู้ผลิตและเกษตรกรญี่ปุ่น ไม่พอใจต่อความเข้มงวดดังกล่าว โดยเฉพาะมาตรฐาน Uniform Limit ระดับ 0.01 ppm. สำหรับสารเคมีที่ไม่ได้มีการกำหนดค่า MRL โดยเห็นว่าเป็นค่าที่ต่ำไป แม้ว่าฟาร์มของตนเองจะไม่ได้ใช้สารเคมี แต่สารเคมีอาจกระจายมาจากฟาร์มอื่นที่มีการพ่นยาได้

               สหกรณ์การเกษตรฯ ได้เรียกร้องให้เกษตรกรระมัดระวังการใช้สารเคมี โดยเฉพาะให้หลีกเลี่ยงการพ่นยา ที่จังหวัดกุนมะได้เสนอการแจกตาข่ายให้กับสวนผลไม้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมี ห้าง Aeon ได้ทำการตรวจสอบและแนะนำเกษตรกร เพื่อรักษาชื่อเสียงของเครื่องหมาย Topvalu ของห้างซึ่งโฆษณาว่าเป็นผลผลิตที่มีสารตกค้างต่ำ JCCU (Japanese Consumers’ Co-operative Union) กำหนดการตรวจสอบเข้มงวดสินค้า 70 รายการทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า CGC Japan ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและผู้กระจายสินค้าไปยังซุปเปอร์มาร์เกตขนาดกลางและเล็กทั่วญี่ปุ่นแจ้งว่า ระมัดระวังสินค้านำเข้าจากจีนมากขึ้นและจะตรวจสอบสารเคมีที่มีการใช้ในจีน ในขณะที่ผู้ประกอบการแปรรูปเกิดความสับสนอย่างมาก เมื่อผู้จำหน่ายปลีกขอให้รับรองความปลอดภัยของอาหาร ในขณะที่ผู้แปรรูปไม่สามารถสืบย้อนที่มาของส่วนผสมได้ทั้งหมด

               ขณะนี้มีการรายงานการพบสินค้านำเข้าเกินค่า MRL ที่กำหนด 10 ครั้ง ซึ่งเป็นสินค้าจากประเทศจีน 6 ครั้ง (ปลาไหล 5 ครั้ง : malachite green) และผัก snap pea 1 ครั้ง, ประเทศไทย 1 ครั้ง : ผักชีฝรั่ง , ฝรั่งเศส 1 ครั้ง : ผักสลัด , เบลเยี่ยม 1 ครั้ง ผักประเภทเทอร์นิบ และอินเดีย 1 ครั้ง – bee pollen)

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?