TH EN
A A A

ฟิลิปปินส์ประกาศกฎระเบียบการนำเข้าผลไม้ตระกูลส้ม

26 กันยายน 2554   
                เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ฟิลิปปินส์ประกาศกฎระเบียบการนำเข้าผลไม้ตระกูลส้ม: ส้ม (Citrus Reticulata) แทนเจอรีน (Citrus Reticulata) มะนาว (Citrus Limon) เกรฟฟรุ๊ต (Citrus Paradisi) จากอาร์เจนตินา

                โดยมีสาระสำคัญดังนี้

                     • ผลไม้ตระกูลส้มดังกล่าวจะต้องมาจากแหล่งผลิต โรงงานแปรรูปหรือบรรจุหีบห่อที่ได้รับอนุญาตหรือรับรองจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารและคุณภาพแห่งชาติ (SENASA) อาร์เจนตินา 

                     • ผู้ส่งออก สถานที่ผลิต และโรงงานแปรรูปผลไม้ดังกล่าวต้องจดทะเบียนต่อ SENASA และได้รับอนุญาตจาก BPI-PQS ซึ่งเป็นหน่วยงานบริการกักกันพืช

                     • ผลไม้ดังกล่าวจะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือก ทำความสะอาด และบรรจุหีบห่อในโรงงานที่ได้รับการรับรองจาก SENASA โดยขั้นตอนเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่จาก SENASA และ BPI-PQS ในระหว่างการตรวจสอบล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือนแรกของการส่งออก

                     • ผลไม้ตระกูลส้มดังกล่าวต้องบรรจุในกล่องกระดาษใหม่ และเก็บกล่องบรรจุผลไม้ในบริเวณที่สะอาด
มีอุณหภูมิที่ 5-6 องศาเซลเซียส

                     • ก่อนการปิดผนึกกล่องบรรจุผลไม้ดังกล่าว เจ้าหน้าที่จาก SENASA และ PQ ของฟิลิปปินส์จะสุ่มตรวจผลไม้ก่อนการขนส่งไปยังโรงงานแปรรูป

                     • เจ้าหน้าที่จาก SENASA จะเป็นผู้ตรวจสอบว่าผลไม้ปราศจากศัตรูพืชก่อนที่เจ้าหน้าที่ PQ จะอนุญาตให้ขนส่งสินค้าได้

                     • หากผลไม้ตระกูลส้มดังกล่าวผ่านขั้นตอนการตรวจสอบดังกล่าว กล่องบรรจุผลไม้แต่ละกล่องจะปิดผนึกและติดฉลากที่แสดงข้อมูลบนทั้งสองด้านของกล่องดังนี้ 

                        1. “FOR THE PHILIPPINES”  
                        2. รหัสการรับรองที่ออกโดย SENASA 
                        3. แหล่งผลิต (จังหวัด สวน/ สถานที่ผลิต หน่วยการผลิตและล็อต)

                      • จะต้องขนส่งผลไม้ตระกูลส้มดังกล่าวในรถห้องเย็นที่สะอาดและขนส่งให้เร็วที่สุด

                      • ผลไม้ดังกล่าวต้องอยู่ในห้องเย็นตลอดการขนส่ง โดยรักษาอุณหภูมิที่ 4 องศาเซลเซียส และใช้เทอร์โมกราฟแบบ pre-calibrated วัดอุณหภูมิในห้องเย็น 

                      • ได้รับใบรับรองสุขอนามัยพืชจาก SENASA และ PC

                      • การขนส่งแต่ละครั้งต้องมีใบรับรองค่า MRLs ที่ออกโดยห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรองจากรัฐบาล

                   มีผลบังคับใช้
แต่วันที่ 23 กันยายน 2554
 
            สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 
   
      
http://members/wto.org/crnattachments/2011/sps/PHL//11_2662_00_e.pdf
 
 
 
ที่มา : มกอช.
 
 
 
 
 
 

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?