นักวิจัยพบว่าปลาจวดแอตแลนติก (Atlantic croakers) ในอ่าวเม็กซิโกกำลังได้รับผลกระทบจากการปริมาณที่มีน้อย ทำให้ปลาจวดตัวเมียเริ่มผลิตน้ำอสุจิในรังไข่
Peter Thomas นักศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสกล่าวว่า ภาวะพร่องอากาศ (Hypoxia) เกิดเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็วในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา ซึ่งงานวิจัยปลาจวดแอตแลนติกแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางชีววิทยาที่สำคัญของภาวะพร่องอากาศต่อสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งอาจทำให้มีผลกระทบต่อประชากรปลาในระยะยาว
ทั้งนี้ มีเขตมรณะ (Dead zone) ในมหาสมุทรทั่วโลก ซึ่งมีปริมาณออกซิเจนน้อยเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะดำรงชีพได้ โดยพบ Dead zone มากในบริเวณซีกโลกเหนือ จากจำนวนประชากรมนุษย์ที่สูงขึ้นรอบชายฝั่งทำให้เกิดมลภาวะเพิ่มขึ้นในน่านน้ำ และทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตมากขึ้นซึ่งดูดออกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำ