การก่อการร้ายทางชีวภาพต่อพืชผล (Crop bio-terrorism) คือการใช้ศัตรูพืชต่างๆ อย่างจงใจเพื่อทำลายพืชผลหรือทำให้มีการปนเปื้อนในสินค้าเกษตรของประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางด้านการค้า การเมือง และสังคมในประเทศนั้น
สหภาพยุโรป ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการวิจัยในหัวข้อ ความมั่นคงทางชีวภาพของพืชและอาหาร และการจัดเตรียมเครื่องมือเพื่อคาดการณ์และแก้ไขการก่อการร้ายทางชีวภาพต่อพืชผล เพื่อบ่งชี้ว่าพืชชนิดใดมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกการก่อการร้าย และเพื่อสร้างเครือข่ายของศูนย์วิจัยต่างๆ ในการแก้ปัญหาสุขอนามัยของพืชพันธุ์ใหม่ ที่เป็นผลมาจากการก่อการร้ายทางชีวภาพโครงการนี้ครอบคลุมถึง
1) ความประเมินความเสี่ยงของการเกษตรของยุโรปที่อาจถูกก่อการร้ายโดยใช้ศัตรูพืชต่างๆ อย่างจงใจ
2) การศึกษามาตรการในการป้องกันอันตรายที่เกิดจากการก่อการร้ายทางชีวภาพต่อพืชผล
3) การสร้างยุทธศาสตร์ในการหยุดยั้งและกำจัดศัตรูพืชต่างๆ
พืชเป้าหมายได้แก่ ธัญพืช มันฝรั่ง ข้าวเจ้า ข้าวสาลี และข้าวโพด ส่วนศัตรูพืช 9 ชนิดที่อยู่ในขอบเขตของโครงการเนื่องจากง่ายต่อการครอบครอง ง่ายในการแพร่ระบาดและสร้างความเสียหายหนัก ได้แก่ 1) Puccinia graminis 2) เชื้อรา Puccinia striiformis 3) เชื้อรา Erysiphe graminis 4) เชื้อรา Phytopthora infestans 5) เชื้อรา Phriculia oryzae 6) เชื้อรา Magnaporthe grisea 7) เชื้อรา Tilletia indica 8) เชื้อรา Ustilago maydis 9) เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv oryzae
ทั้งนี้การดำเนินงานโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยตูริน (แคว้นเพียตมอนต์) กับศูนย์วิจัยต่างๆ ในยุโรป อิสราเอล สหรัฐฯ จีนและไทย