การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งครอบคลุมพื้นที่หนึ่งพันล้านเฮกตาร์ แต่พื้นที่เพาะปลูกพืช GMOs ในทวีปยุโรปกลับลดลง
ในปี 2553 การปลูกพืช GMOs เพิ่มขึ้น 10% เนื่องจากเกษตรกรมากกว่า 15 ล้านคนใน 29ประเทศที่ปลูกพืชดังกล่าว ในจำนวนนี้เป็นประเทศกำลังพัฒนา 10 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศสหภาพยุโรป 8 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม จากรายงานระบุว่าเกษตรกรกว่า 90% ที่ปลูกพืช GMOs นั้นขาดแคลนทรัพยากรและอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว
ทั้งนี้ สหรัฐฯ ปลูกพืช GMOs มากที่สุดครอบคลุมพืชที่ 66.8 ล้านเฮกตาร์ ตามด้วยบราซิล 25.4 ล้านเฮกตาร์ อาร์เจนตินา 22.9 ล้านเฮกตาร์ และอินเดีย 9.4 ล้านเฮกตาร์
ถั่วเหลืองที่ทนต่อยากำจัดวัชพืชเป็นพืช GMOs ที่นิยมปลูกมากที่สุด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 73.3 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็น 50% ของพื้นที่ปลูกพืช GMOs ทั่วโลก ส่วนในสหภาพยุโรป เมื่อปี 2553 ข้าวโพด Monsanto 18 ใช้พื้นที่ปลูกในสหภาพยุโรป 91.1 ล้านเฮกตาร์ ลดลงถึง 3,000 เฮกตาร์เมื่อเทียบกับปี 2552 โดยมีสเปนเป็นประเทศที่ปลูกพืช GMOs รายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ ในปี 2553 พื้นที่เพาะปลูกพืช GMOs ของเช็กลดถึง 28% เหลือเพียง 4,680 เฮกตาร์ จากเดิม 6,480 เฮกตาร์ในปี 2552 ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกพืชดังกล่าวลดลงเนื่องจากปัญหาการขายที่ไม่สามารถแก้ไขได้
นอกจากนี้ 4 จาก 6 ประเทศสหภาพยุโรปที่ปลูกข้าวโพด GMOs ยังพบว่าพื้นที่เพาะปลูกพืชดังกล่าวลดลง โดยมีโรมาเนียที่ลดลงมากที่สุดถึง 75% ขณะที่สเปนซึ่งมีพื้นที่ปลูกพืช GMOs มากกว่า 50,000 เฮกตาร์ มีพื้นที่ปลูกพืชดังกล่าวลดลง 11 % ส่วนภาพรวมของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด GMOs ลดลง 13% ขณะที่โปแลนด์มีพื้นที่ปลูกพืช GMOs เท่าเดิม และสโลวาเกียมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น