TH EN
A A A

บทบาทและท่าทีอียู ต่อการประชุม COP16 ที่เมืองแคนคูน

1 ธันวาคม 2553   
                การประชุมภายใต้กรอบขององค์กรสหประชาชาติ (United Nations, UN) เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties of the United Nations Framework Convention on Climate Change, COP) ครั้งที่ 16 ซึ่งจะมีขึ้นที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน- 10 ธันวาคม 2553 โดยบทบาทและท่าทีของสหภาพยุโรปต่อการประชุมดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ 
                1. สหภาพยุโรปมีความทะเยอทะยานในการเป็นผู้นำด้านมาตรการลดโลกร้อนน้อยลง เนื่องจากต้องแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่โหมกระหน่ำยุโรปและหลายประเทศทั่วโลก ในขณะที่สหรัฐฯ และจีนยังไม่มีท่าทีเป็นบวกมากนักเกี่ยวกับข้อตกลงใหม่หลังพิธีสารเกียวโต
                2. สหภาพยุโรปอาจจะพิจารณาเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซให้มากกว่าร้อยละ 20 ภายในปีพ.ศ. 2563หากประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ยอมรับเป้าหมายการลดก๊าซในระดับเดียวกัน และประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญๆ ยอมมีส่วนร่วมมากพอ ตามระดับความรับผิดชอบและความสามารถของประเทศเหล่านั้น นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังสนับสนุนแนวทางอื่นๆ ในการดำเนินนโยบายการทูตเกี่ยวกับการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย อาทิ สนับสนุนข้อริเริ่มในระดับภูมิภาค อาทิ Mediterranean Climate Change Initiative ที่ริเริ่มโดยกรีซเมื่อเดือนตุลาคม 2553
                3. สหภาพยุโรปจะให้เงินสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนา 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปี จนถึงปีพ.ศ.2563 เพื่อใช้ในการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรับตัว และเพื่อสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจสีเขียว โดยประเทศพัฒนาแล้วได้ให้คำมั่นไว้ว่าจะให้เงินฉุกเฉินก้อนแรกจำนวน 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระหว่างปีพ.ศ.2553-2555 แต่ไม่ได้บอกไว้ชัดเจนว่าแต่ละประเทศสมาชิกจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบในเงินก้อนนี้กันคนละเท่าไร  แต่ระบุว่าครึ่งหนึ่งของเงินทุน 1,374 ล้านเหรียญสหรัฐ จะถูกจัดสรรไว้เพื่อโครงการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว กลุ่มประเทศในแอฟริกา ให้ความเห็นว่าไม่ควรเอาเงินที่เคยใช้ในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาผ่านความร่วมมือในลักษณะ Overseas Development Aid – ODA มาเปลี่ยนชื่อเป็นเงินสำหรับการเปลี่ยนแปลงภูมิสภาพอากาศ 
                ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนต้องการให้เงินสนับสนุนดังกล่าวเป็นเงินช่วยเหลือแทนที่จะเป็นเงินกู้ แต่คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่าร้อยละ 43 ของเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรปจะเป็นลักษณะการให้เงินกู้
                สำหรับวิธีการบริหารจัดการเงินสนับสนุนดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันมากระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยสหภาพยุโรปมีบทบาทใหม่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการให้มีการบริหารจัดการเงินสนับสนุนดังกล่าวผ่าน World Bank ในขณะที่จีนต้องการให้บริหารจัดการผ่าน UNFCCC ดังนั้น ประเด็นการบริหารจัดการเงินสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาจึงจะเป็นหัวใจสำคัญของการเจรจา COP16 ที่จะมีขึ้นที่เมืองแคนคูน
ที่มา : กรองยุโรปเพื่อไทย

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?