TH EN
A A A

ผลวิจัยออสซี่อ้างภาคปศุสัตว์ออสเตรเลียปล่อย CO2 น้อย

11 กุมภาพันธ์ 2553    4893 ครั้ง
            
มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ ทำการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) ของปศุสัตว์ในออสเตรเลีย 3 แห่งได้แก่ วิกตอเรีย นิวเซาท์เวลล์ และออสเตรเลียตะวันตก พบว่าการผลิตเนื้อแกะและเนื้อวัวปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุดในโลก โดยเนื้อแกะปล่อยก๊าซเรือนกระจก 7-8 กก.CO2 ต่อ 1 กก.HSCW และสำหรับเนื้อวัวปล่อยก๊าซ 8-11 กก.CO2 ต่อ 1 กก.HSCW
 
                 จากการวิจัยพบว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 164-258 กก.ต่อปี ซึ่งแตกต่างจากที่เคยมีผู้อ้างไว้ว่าปล่อยก๊าซถึง 1.5 ตันต่อปี
 นาย David Palmer ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการของกรมปศุสัตว์และเนื้อสัตว์ออสเตรเลีย (MLA) กล่าวว่า ส่วนใหญ่แกะและวัวของออสเตรเลียถูกเลี้ยงอย่างเป็นธรรมชาติในทุ่งเลี้ยงสัตว์ ซึ่งใช้ปุ๋ยน้อยหรือไม่ใช้เลย แต่กลับพบว่ามีการใช้ข้อมูลที่ผิดและเกินจริงในการคำนวณ โดยเป็นการคำนวณแบบ Cradle-to-grave ซึ่งคำนวณผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญตลอดทั้งกระบวนการผลิตจนกระทั่งฝังกลบ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการดูดซับคาร์บอนของดินและต้นไม้
                
                 อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้กล่าวว่า พื้นดินและต้นไม้ในทุ่งเลี้ยงสัตว์จะช่วยดูดซับคาร์บอนไว้ถึง 47% ของที่ผลิตออกมา และพบว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดถึง 80% จากการย่อยอาหารของสัตว์ ซึ่ง MLA ได้ร่วมมือกับภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยงานวิจัย 18 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าถึง 28 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ 
 
                ทั้งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เล็งเห็นความสำคัญของภาคปศุสัตว์ว่า ภาคปศุสัตว์ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 7.5% ตั้งแต่ปี 2533 ในขณะที่ภาคขนส่งและการไฟฟ้ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 26.9% และ 54.1% ตามลำดับ
 
ที่มา : Meat International

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?