ศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร (CFS) ของกรมสุขอนามัยอาหารฮ่องกงตรวจพบ Sulphur dioxide Benzoic acid และ Sorbic acid ในผักและผลไม้ในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้จัดเป็นสารกันบูด หรือวัตถุกันเสีย (preservative) ทำให้ CFS ตัดสินใจจับตาดูการใช้สารกันบูดในอาหารอย่างใกล้ชิด โดยได้จัคตั้งโปรแกรมควบคุมการเติมสารกันบูดในอาหาร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดปริมาณวัตถุกันเสียที่สามารถใช้ในอาหารได้
CFS ได้ทำการตรวจสอบผักดอง 371 ตัวอย่าง เช่น แตงกวา หัวไชเท้า ขิง พริก รวมทั้งผลไม้แห้ง เช่น มะม่วงแห้ง สัปปะรดแห้ง และ บลูเบอร์รี่ ซึ่ง CFS ได้กำหนดค่าสารกันบูดไว้ที่ 3.6%โดย CFS พบผัก 8 ชนิดมีปริมาณสารกันบูดที่มากเกินกว่าค่ากำหนดของ Sulphur dioxide และ Benzoic acid ที่ตั้งไว้ และผลไม้ 6 ชนิดมีปริมาณ วัตถุกันเสียมากเกินว่าระดับ Sulphur dioxide และ Benzoic acid ที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม 96.2% ของผักและผลไม้ตัวอย่างมีสารกันบูดในปริมาณที่ยอมรับได้
ทั้งนี้ CFS กล่าวว่า ผู้ประกอบการอาหารควรซื้ออาหาร และส่วนประกอบอาหารจากแหล่งวัตถุที่เชื่อถือได้ และหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะถูกปรับ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และจำคุกเป็นระยะเวลา 6 เดือน นอกจากนั้น หากพบว่ามีการจำหน่ายผลไม้ และผักที่มีปริมาณสารกันบูดมากเกินค่ากำหนดไว้ ร้านค้านั้นจะถูกสั่งปิด