จากการสุ่มตรวจสินค้าเพื่อการบริโภคในสหราชอาณาจักร โดย Department for Environment Food and Rural Affairs (Defra) พบว่า มีการปลอมแปลงสินค้าอาหารหลายประเภท เช่น ไข่ไก่ที่ได้จากไก่ที่ถูกเลี้ยงในกรงตับ แต่มีการนำมาลักลอบบรรจุกล่องจำหน่ายในประเภทไข่ไก่ที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบอิสระ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นการฉ้อฉลทางการค้า หลอกลวงผู้บรโภคและค้ากำไรเกินควร โดย Defra ประเมินแล้วว่า สินค้าอาหารที่ผู้บริโภคซื้อใช้ในครัวเรือนในแต่ละสัปดาห์นั้น มีถึงอัตราร้อยละ 10 ที่มีการปลอมแปลง ปรับเปลี่ยน หรือเจือปนสินค้าอื่น ที่ไม่ถูกต้องตามที่ระบุจริงในฉลาก หรือ เป็นสินค้าอาหารปลอม ซึ่งฝ่าฝนกฎของความเป็นสินค้าที่แท้จริง และเป็นความผิดคดีอาญา
Defra ระบุว่า การตรวจสอบ การปลอมแปลงหรือเจือปนสินค้าอาหารสามารถตรวจสอบได้โดยระบบการตรวจหา DNA ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยระบบการตรวจหาการปนเปื้อน GMO ก็ใช้ระบบนี้ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีระบบ GeoTraceAgri ซึ่งเป็นระบบดาวเทียมควบคุมการเพาะปลูก สามารถเก็บข้อมูลของแหล่งที่มาและสิ่งแวดล้อมของพืชนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ การควบคุมการปลูกองุ่นเพื่อการทำไวน์เกรดดี ว่าไร่องุ่นซึ่งเป็นที่มาของไวน์ที่กำลังบริโภคอยู่นั้น มีลักษณะเช่นใด อย่างไรก็ดี ระบบดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงเหมาะสำหรับควบคุมการผลิตสินค้าอาหารชั้นสูง ที่มีการเพาะปลูกในพื้นที่จำกัด อาทิ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ หรือ กาแฟอาราบิก้าพันธุ์แท้ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มสินค้าที่โดนเพ่งเล็งและประสบปัญหาการปลอมแปลง ได้แก่ ข้าว
ข้าวบาสมาติ พบว่า มีการลักลอบผสมข้าวสายพันธุ์ผสมของข้าวบาสมาติเข้ากับข้าวบาสมาติพันธุ์แท้เพื่อขายในราคาแพงเป็นจำนวนมาก ข้าวที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) มีการลักลอบผสมข้าว GM เข้ากับข้าวปกติเป็นจำนวนมาก ซึ่งการ
ปนเปื้อนส่วนใหญ่เป็นข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ตรวจพบผิดกฎหมาย 33 ครั้งจากการสุ่มตรวจในท้องตลาดสินค้า ทั้งหมด 162 ครั้ง
ปลาทูน่า - มีการลักลอบผสมเนื้อปลาโบนิโต้ ซึ่งเป็นปลาราคาถูก ตระกูลเดียวกับปลาแมคเคอเริล ส่วนใหญ่เป็นปลาทูน่ากระป๋องนำเข้าจากประเทศที่สาม ไข่ไก่ - มีการลักลอบผสมไข่ไก่อินทรีย์เข้ากับไข่ไก่ปกติ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า น้ำผึ้ง - มีการลักลอบปลอมแปลงฉลากสินค้าว่า น้ำผึ้งมาจากถิ่นผลิตที่ดี แต่จริงๆแล้วมาจากถิ่นผลิตน้ำผึ้งเกรดที่ต่ำกว่า เพื่อจำหน่ายในราคาที่สูงกว่า มีการตรวจพบน้ำผึ้งที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นทั้งน้ำผึ้งที่ผลิตได้จากภายในกลุ่มประเทศสมาชิก EU และจากประเทศที่สาม (เวียดนาม ไซปรัส แทนซาเนีย โมลโดวา โรมาเนีย อาร์เจนตินา โปรตุเกส สเปน
และบัลกาเรีย) หอยเชลล์และกุ้ง - พบว่า ผู้ประกอบการมีการฉีดน้ำในหอยเชลล์และกุ้งให้ดูว่าตัวใหญ่ขึ้นเป็นปริมาณถึง 10 - 54% มันฝรั่ง - ผู้ผลิตมักผสมมันฝรั่งชั้นดีเข้ากับมันฝรั่งปกติและวางจำหน่ายในราคาที่สูงกว่า เนื้ออินทรีย์ - มีการลักลอบการติดฉลากเนื้อที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูตามหลักเกณฑ์ของเกษตรอินทรีย์ว่าเป็นเนื้ออินทรีย์ (ไม่เคารพสวัสดิภาพสัตว์ มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น) เพื่อวางจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าเนื้อปกติ เนื้อไก่ - มีการลักลอบฉีดน้ำในเนื้อไก่ก่อนวางจำหน่ายในปริมาณ 5 - 43% รวมทั้งตรวจพบสาร hydroxyproline
จากการใช้ hydrolysed proteins ปราศจากการติดฉลากระบุไว้ เนื้อบดไขมันต่ำ - มีการลักลอบผสมเนื้อบดคุณภาพต่ำเข้ากับเนื้อบดชนิดดีที่มีไขมันต่ำ และวางจำหน่ายโดยการติดฉลากว่า "lean" และ "extra lean" เพื่อขายให้แก่ผู้บริโภคในราคาที่สูงกว่าเนื้อบดปกติ
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ
ประจำสหภาพยุโรป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์