ขณะนี้ องค์การอิสลาม (OIC) กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้สมาชิกทั้ง 57 ประเทศ ใช้แนวทางปฏิบัติด้านมาตรฐานฮาลาลสากลฉบับเดียวกัน โดย ทางมาเลเซียมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศมุสลิมจะหาข้อตกลงในกรณีนี้ได้ เนื่องจากจะสามารถทำให้มีเงินไหลเวียนเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมฮาลาลถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการตกลงด้านการจัดตั้งมาตรฐานของอุตสาหกรรมฮาลาล จะครอบคลุมตั้งแต่สถาบันทางการเงิน จนถึงธุรกิจความสวยงามและอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ซึ่งจะช่วยในด้านการค้าและการรับรองสินค้าฮาลาลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
Jamil Khir Baharom รัฐมนตรี กระทรวงศาสนามาเลเซีย กล่าวว่า การรับรองมาตรฐานฮาลาลของมาเลเซียได้รับการยอมรับในระดับสากล ดังนั้น มาเลเซียสามารถมีบทบาทสำคัญในการจัดทำมาตรฐานฮาลาลสากล ซึ่งมาตรฐานที่จัดทำขึ้นใหม่นี้จะต้องเป็นมาตรฐานที่สามารถปฏิบัติร่วมกัน ได้ง่าย โดยส่วนใหญ่แล้วมาตรฐานฮาลาลของแต่ละประเทศ จะมีความคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะสินค้าและอาหาร แต่ยังคงมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ยกตัวอย่าง ในกรณีของประเทศที่ร่ำรวยอย่างซาอุดิอาระเบียและประเทศที่ยากจนอย่าง โซมาเลีย ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านการเมือง จึงอาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง
ทั้ง นี้ ภาคอุตสาหกรรมฮาลาลแนะนำให้ใช้ชาวมุสลิมทานอาหารและใช้สินค้าที่ได้มาตรฐาน ฮาลาลและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือเรียกว่า ฮาลาลัน ตอยยีบัน (Halalan Toyibban) แต่ยังมีการโต้แย้งเรื่องการยอมรับเบียร์ที่ปราศจากแอลกอฮอล์ คอลลาเจน และน้ำส้มสายชู