TH EN
A A A

สถานการณ์สต็อกปลาของอียู

20 ตุลาคม 2552   
               สหภาพยุโรปได้ปฏิรูปนโยบายประมงร่วม (CFP) ในปี 2545 เพื่อให้การทำประมงของสหภาพยุโรปยั่งยืน แต่สถานการณ์ปัจจุบันของสต๊อกปลาในน่านน้ำสหภาพยุโรปยังคงมีปัญหา เนื่องจากมีปลาบางชนิดมากเกินไป และการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำก็ดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
 
               ภาพรวมของสต๊อกปลาในน่านน้ำสหภาพยุโรปขณะนี้ มีปลา 5 ชนิดที่ถูกจับในระดับที่เหมาะสม อีก 30 ชนิดถูกจับมากเกินไป เมื่อเทียบกับปี 2552 มีปลาที่ถูกจัดอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้นเป็น11ชนิด และปลาที่ถูกจับมากเกินไป 22 ชนิด
               ส่วนปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ลดลง จาก 27 ชนิด เหลือ 22 ชนิด เช่น

               1. ปลาทูน่าครีบสีน้ำเงิน (Bluefin Tuna) เสี่ยงที่จะสูญพันธ์มากที่สุด เพราะอาหารญี่ปุ่นเป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้การจับปลาทูน่าครีบสีน้ำเงินอยู่ในระดับสูงขึ้น หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ คาดการณ์ว่าปลาชนิดนี้อาจสูญพันธ์ในปี 2555
               2. ปลา Cod มีอยู่เป็นจำนวนน้อย แม้เคยมีแผนเพื่อลดจำนวนการจับปลาชนิดนี้ให้น้อยลงก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ สหภาพยุโรปจึงปรับปรุงแผนฟื้นฟูปลา Cod  อีกครั้งในปี 2551
               3. ปลา Anchovy ฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าจะห้ามจับปลาชนิดนี้ตั้งแต่ปี 2548 แล้วก็ตาม
               4. ปลา Herring อัตราการทดแทนของปลาลดลง ส่งผลต่อขนาดของปลาที่จับได้ในปีถัดไป รวมทั้งน้ำหนักของปลา Herring ที่จับในพื้นที่ดังกล่าวลดลงอย่างรวดเร็ว
                อย่างไรก็ตาม นโยบายประมงร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อสต๊อกปลาบางชนิด เช่นปลา Sole ปลา Plaice และปลา Anglefish เพราะช่วยควบคุมการจับปลาที่มากเกินไป ทำให้สต๊อกปลาเหล่านี้กลับสู่สภาพเดิม ส่งผลให้ปลาที่จับได้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีปลาถูกทิ้งจากการทำประมงน้อยลง ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมลดลงและผู้จับมีกำไรเพิ่มขึ้น
 การปรับปรุงนโยบายประมงร่วมครั้งหลังสุดมีทั้งผลดี และผลเสีย ทางคณะกรรมาธิการยุโรป จึงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาปลาถูกจับมากเกินไปในสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2553 เช่น การกำหนดโควตาการอนุญาตจับปลาแบบรายปีสำหรับปลาที่ถูกจับมากกินไป และ การกำหนดปริมาณปลาที่อนุญาตให้จับได้ เป็นต้น

 
 
ที่มา : คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป

บทความนี้มีประโยน์หรือไม่?