ในระยะตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2552 เป็นต้นมา ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาในสหราชอาณาจักรปรากฏว่า กลุ่มกรีนพีซได้รณรงค์ให้งดบริโภคปลาทูน่าที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยได้จัดทำสื่อเผยแพร่เรื่อง The End of the Line และลงข่าวในหนังสือพิมพ์ The Londonpaper สะท้อนปัญหาการลดลงของสต๊อคทูน่าในทะเล เนื่องจากการจับมากเกินขีดความสามารถของธรรมชาติ โดยรณรงค์ให้ร้านค้างดจำหน่ายและผู้บริโภคงดบริโภคทูน่าชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์และชนิดที่มาจากวิธีการที่เห็นว่าเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การจับโดยวิธีการ Line-caught นอกจากนี้แล้ว ยังมีการระบุชนิดปลาอื่นๆที่ควรบริโภคและที่ไม่ควรบริโภคพร้อมเหตุผล โดยเป็นเหตุผลของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งในแง่ของปลาชนิดนั้นๆ หรือเหตุผลการอนุรักษ์สัตว์น้ำชนิดอื่นสืบเนื่องจากวิธีการจับปลาชนิดนั้นอย่างผิดวิธี ซึ่งอาจส่งผลต่อสัตว์น้ำชนิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างปลาที่ไม่ควรบริโภคอย่างยิ่ง เช่น Monfish หรือ Goosefish, Chilean Seabass, Sharks (หูฉลาม) สำหรับทูน่ามีการระบุชนิดที่ไม่ควรบริโภค เช่น Bluefin, Bigeya, Skipjack ที่มาจากการจับแบบ Purse-seining และ Yellowfin ที่ไม่ได้มาจากการจับแบบ Pole and Line caught เนื่องจากสต๊อคธรรมชาติลดต่ำมากและไม่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างเหมาะสม ผลจากการรณรงค์ดังกล่าว ทำให้ห้างดัง Marks & Spencer ประกาศนโยบายเมื่อต้นสัปดาห์ที่สองของเดือนมิถุนายนว่า จะยกเลิกการผลิตแซนด์วิชที่ใช้ทูน่าที่ไม่ได้มาจากการจับแบบ Pole and Line caught และร้านอาหารแบบเฟรนไชน์ Pret a Manger ประกาศยกเลิก เมนูแซนด์วิชทูน่าและซูชิออกจากชั้นจำหน่ายทั้งหมดแล้ว ส่วนห้าง Waitros ยกเลิก Swordfish ออกจากเมนูของห้างแล้วเช่นกัน และนำปลาชนิดใหม่ๆมาจำหน่ายแทน แต่ทางห้าง Nobu ยังไม่มีการเปลี่ยนนโยบายแต่อย่างใด มกอช. |