การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับ
โรงรวบรวมผักผลไม้สด
(มกษ.9047-2560)
ประเดือนมกราคม 2565
ครอบคลุมข้อกำหนดตั้งเเต่การรับวัตถุดิบ การจัดเตรียม การจัดเตรียม การคัดเลือก การบรรจุ เเละการเก็บรักษา ซึ่งอาจจรวมถึงการขนส่ง เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยเเละมีคุณภาพเหมาะสมเพื่อการจำหน่าย โดยมีรายละเอียดข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
1. สถานประกอบการ
• ทำเลที่ตั้ง
- ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนที่ทำให้อาหารไม่ปลอดภัยห่างจากบริเวณที่มีสัตว์พาหะสิ่งปฏิกูล บริเวณน้ำท่วมขังบริเวณที่มีฝุ่นควันมาก
• ออกเเบบเเละวางผัง
- สายการผลิตให้เอื้อต่อการปฏิบัติอย่างสุขลักษณะ บริเวณผลิตมีพื้นที่เพียงพอเเละเเยกเป็นสัดส่วน เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน โครงสร้างภายในอาคารมีการออกเเบบอย่างเหมาะสม สร้างด้วยวัสดุที่เเข็งเเรง ทนทาน ง่ายต่อการบำรุงรักษาเเละทำความสะอาด สามารถระบายน้ำได้ดีเเละป้องกันเเมลงศัตรูพืชได้
• เครื่องมือเเละอุปกรณ์
- มีการออกเเบบเเละสร้างด้วยวัสดุที่เหมาะสมไม่เป็นพิษต่อการผลิตผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการบำรุงรักษาการทำความสะอาดมีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงานเเละควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• มีน้ำเเละสิ่งอำนวยความสะอาดที่เพียงพอ
- มีห้องน้ำ อ่างล้างมือ โดยจัดให้อยู่ในบริเวณที่ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน มีเครื่องมือเเละอุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาด การจัดการของเสียเเละระบายน้ำอย่างเหมาะสม รวมถึงมีเเสงสว่าง เเละการระบายอากาศที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
2. การควบคุมการปฏิบัติงาน
• คัดเลือกวัตถุดิบ
- ที่มีคุณภาพเหมาะสมเเละต้องมาจากเเหล่งปลูกที่ได้รับการรับรอง มีมาตรการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเเละเสื่อมสภาพ
• ดำเนินการคัดคุณภาพเเละตัดเเต่งผลิตผลในเบื้องต้น
- ควรปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะเเละระมัดระวังไม่ให้ผลิตผลเสื่อมคุณภาพ
• มีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต
- ต้องเลือกใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ภาชนะบรรจุเเละวัสดุที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อต้องสะอาดมีความเหสาะสมกับผลิตผล ซึ่งสามารถป้องกันความเสียหายหรือปนเปื้อนได้ในกรณีบรรจุหีบห่อ เพื่อการส่งออกต้องเเสดงฉลากให้ครบถ้วนเเละถูกต้องตามกฎหมายหรือข้อกำหนดประเทศคู่ค้า
3. ระบบการบำรุงรักษาเเละสุขาภิบาลโรงรวบรวมผักเเละผลไม้สด
- ต้องทำความสะอาดอาคารผลิตอย่างสม่ำเสมอเเละถูกสุขลักษณะ รวมทั้งทำความสะอาดเครื่องมือเเละอุปกรณ์ก่อนเเละหลังปฏิบัติงาน เก็บให้เป็นสัดส่วน สามารถป้องกัน การปนเปื้อนได้ มีการป้องกันเเละกำจัดจัดสัตว์เเละเเมลงป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในบริเวณผลิตเเละเก็บรักษาผลิตผลจัดเก็บสารเคมีอย่างเหมาะสมเเละมีป้ายเเสดงรายละเอียดอย่างครบถ้วน กำจัดของเสียอย่างเหมาะสมเเละมีวิธีการตรวจเฝ้าระวังประสิทธิผลสุขาภิบาล
4. สุขลักษณะส่วนบุคคล
• ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะนำโรคที่อาจปนเปื้อนผู้ปฏิบัติงานเเละผู้เยี่ยมชมต้องมีสุขลักษณะดังนี้
- เเต่งกายสะอาดเเละเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน ไม่สูบบุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่งหรือทานอาหารบริเวณปฏิบัติงาน
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเข้าสู่บริเวณผลิต หลังการใช้ห้องน้ำเเละหลังการสัมผัสสิ่งปนเปื้อน มีการให้ความรู้ สอนงาน หรืออบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ถูกสุขลักษณะเเก่ผู้ปฏิบัติงาน
5. การขนส่ง
- ผลิตผลที่รอการขนส่งต้องเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม เป็นระเบียบเเละสะดวกต่อการตรวจสอบ โดยพาหนะเเละตู้ขนส่งต้องสะอาดเเละอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สามารถเก็บรักษาผลิตผลได้โดยไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน
6. เอกสารเเละบันทึกข้อมูล
- ผู้ประกอบการต้องจัดทำเอกสารเเละบันทึกข้อมูล เช่น เเผนผัง หรือเเผนภูมิการผลิต บันทึกข้อมูลผลิตผล บันทึกข้อมูลในกระบวนการผลิตเเละสุขาภิบาลเเละบันทึกผลการตรวจสอบวัตภุดิบโดยเก็บเอกสารเเละบันทึกข้อมูลต่างๆ ไว้อย่างน้อย 2 ปี หรือตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า