TH EN
A A A

GAP พืชอาหาร

1 ธันวาคม 2564    ครั้ง

GAP
- พืชอาหาร -

ประเดือนธันวาคม 2564

               ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเเละอาหารที่สำคัญ ซึ่ง มกษ. 9001-2564 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร หรือ GAP พืชอาหารที่ประกาศโดยกระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ เป็นเเนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพเเละปลอดภัย โดยการปฏิบัติที่ปลอดภัยต่อเกษตรกร ผลิตผลไม่เกิดการปนเปื้อนเป็นอันตรายต่อการบริโภค คำนึงถึงการปฎิบัติที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่ง้้วดล้อม เศรษฐกิจ เเละสังคม

               พืชอาหารตามมาตรฐานนี้ หมายถึง ส่วนต่างๆของพืชที่ผลิตเพื่อนำมาบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ พืชไร่ (ยกเว้นข้าว) เครื่องเทศ สมุนไพร พืชไม้ดอกเพื่อการบริโภค ทั้งนี้ไม่ครอบคลุมพืชที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาโรค พืชเพื่อการประดับตกเเต่ง พืชงอกเเละพืชต้นอ่อน พืชสมุนไพรหรือเห็ดที่นำไปผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประกอบด้วยข้อกำหนดหลัก 8 ข้อ ที่ส่งผลต่อคุณภาพเเละความปลอดภัยของพืชอาหาร

     1. น้ำ

              น้ำที่ใช้ในการผลิตมาจากเเหล่งที่ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนในอาหาร เเละไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม เเละมีวิธีการจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยเเละมีคุณภาพ

     - น้ำที่ใช้มาจากเเหล่งน้ำที่ไม่มีสภาพเเวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนอันตรายต่อผลิตผลไม่ทำลายสิ่งเเวดล้อม

     - ประเมินความเสี่ยงของน้ำที่ใช้ หากมีความเสี่ยง ให้มีมาตรการป้องกัน

     - ไม่ใช้น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมอื่นๆ เช่น เเหล่งชุมชน สถานที่ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนอันตราย

     - มีวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชเเละความชื้นของดิน เเละมีประสิทธิภาพ

     - มีการบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ เเละจัดการน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ

     - พืชไฮโดรโพนิกส์ต้องเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ บำรุงรักษาระบบการให้น้ำให้สะอาดตามความเหมาะสม

     - น้ำที่ใช้หลังการเก็บเกี่ยวต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำบริโภคหรือเทียบเท่า

     2. พื้นที่ปลูก

              เลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนในอาหารเเละไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม เเละมีวิธีจัดการพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม สะดวกต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยเเละมีคุณภาพ

     - พื้นที่ปลูกไม่อยู่ในสภาพเเวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนอันตรายต่อผลิตผล

     - ประเมินความเสี่ยงของดินที่ใช้ปลูก หากมีความเสี่ยง ให้มีมาตรการป้องกัน

     - หากใช้สารเคมีรมหรือราดดินเพื่อฆ่าเชื้อในดินหรือวัสดุปลูก ให้บันทึกข้อมูลไว้

     - พื้นที่ปลูกใหม่ ไม่เป็นพื้นที่ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม

     - ดูเเลรักษาพื้นที่ที่ปลูกเเละมีวิธีปฏิบัติ ที่ไม่ทำให้สิ่งเเวดล้อมเสื่อมโทรม

     - จัดทำรหัส/ข้อมูลเเปลงปลูก เเละประวัติการใช้ที่ดินย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี

     - พื้นที่ปลูกต้องไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งเเวดล้อมโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความลาดชัน เเละสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ส่วนราชการกำหนด

     3. วัตถุอันตรายทางการเกษตร

              การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ต้องมีวิธีการใช้ที่ถูกต้องเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตผลที่ได้มีความปลอดภัย เเละไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเเละความปลอดภัยขงผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงสิ่งเเวดล้อม

     - ใช้ตามคำเเนะนำหรืออ้างอิงคำเเนะนำของกรมวิชาการ หรือตามคำเเนะนำในฉลากที่ขึ้นทะเบียนของกรมวิชาการ

     - ห้ามใช้หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายของทางการเกษตรที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เเละฉบับเเก้ไขเพิ่มเติม

     - กรณีผลิตเพื่อส่งออก ห้ามใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่ประเทศคู่ค้าห้ามใช้

     - ผู้ปฎิบัติงานเเละผู้ควบคุมมีความรู้ในการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ถูกต้อง รวมถึงการป้องกันตนเองเเละการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น สวมเสื้อผ้าเเละรองเท้าอย่างมิดชิด ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล พ่นยาให้อยู่เหนือลมตลอดเวลา อาบน้ำ สระผมเเละเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีหลังการพ่น

     - มีการจัดการการใช้ที่ดี เช่น เลือกเครื่องพ่นที่มีสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่วัตถุอันตรายทางการเกษตรหรือสารเคมีอื่นขมากกว่าสองชนิดผสมกัน ให้ระบบการบริหารจัดการศัตรูพืชเเบบผสมผสาน จัดเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรเเละสารเคมีให้เป็นสัดส่วนกำจัดสารเคมีที่เหลือเเละภาชนะบรรจุที่ใช้หมดเเล้วในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผลเเละสิ่งเเวดล้อม มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเเละอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุอย่างครบถ้วน

     4. การจัดการกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว

              มีการจัดการที่ดีในพื้นที่ปลูก รวมถึงปัจจัยการผลิต  เครื่องมือเเละอุปกรณ์ เเละการกำจัดของเสียเพื่อให้การปฏิบัติงานภายในเเปลงปลูกมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยเเละมีคุณภาพเหมาะสมกับการบริโภค ไม่กระทบต่อสิ่งเเวดล้อม เเละสุขภาพ ความปลอดภัย เเละสวัสดิภาพผู้ปฏิบัติงาน

     - ปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธ์ุหรือต้นพันธ์ุหรือส่วนขยายพันธุ์ มาจากเเหล่งที่เชื่อถือได้ มีการจัดการที่ดีในการใช้ปุ๋ยเเละสารปรับปรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำใช้เองต้องผ่านกระบวนการหมักหรือย่อยสลายโดยสมบูรณ์ ไม่ใช้สิ่งขับถ่ายของคนมาเป็นปุ๋ย ใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมต่อพืชที่ปลูก

     - พืชไฮโดรโพนิกส์ ให้มีการเฝ้าระวังเเละบันทึกข้อมูลการผสมผสาน ใช้ เเละกำจัดสารละลายธาตุอาหารของพืช

     - เครื่องมือเเละอุปกรณ์การเกษตรมีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน เก็บรักษาในสถานที่ที่เป็นสัดส่วน ปลอดภัย เเละง่ายต่อการนำไปใช้งาน ตรวจสอบเเละบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

     - มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลตรงตามข้อกำหนดของคู่ค้า

     - กำจัดส่วนของพืชที่มีศัตรูพืชเข้าทำลายด้วยวิธีเเละในสถานที่ที่เหมาะสม เเยกของเสียเเละสิ่งของที่ไม่ใช้หรือไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตให้ชัดเจน มีที่ทิ้งขยะให้เพียงพอ รวมถึงมีการลดของเสียที่เกิดขึ้น

     5. การเก็บเกี่ยวเเละการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

              มีวิธีการเก็บเกี่ยวเเละการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยเเละมีคุณภาพเหมาะสมกับการบริโภค เเละไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม

     - เก็บเกี่ยวผลิตผลที่มีอายุเก็บเกี่ยวเหมาะสม โดยใช้เครื่องมือหรือวิธีการเฉพาะ เเละปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะ

     - ให้มีมาตรการเพื่อลดผลกระทบต่อบริเวณข้างเคียง หากวิธีเก็บเกี่ยวเเละการปฎิบัติหลังการเก็บเกี่ยวทำให้เกิดควันฝุ่น เสียงรบกวน

     - ไม่วางผลผลิตที่มีการคัดเลือกหรือบรรจุในแปลงปลูกเเล้ว สัมผัสกับดินโดยตรง

     - จัดเเยกผลิตผลด้อยคุณภาพกับผลิตผลที่มีคุณภาพ เเละตรวจสอบการคละปน

     - คัดเเยกผลิตผลตามชั้นคุณภาพเเละขนาดข้อกำหนดในมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละที่คู่ค้ากำหนด

     - อุปกรณ์ ภาชนะบรรจุ เเละวัสดุที่สัมผัสกับผลิตผลโดยตรง ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อน มีการดูเเลรักษาให้สะอาดเเละมีสภาพพร้อมใช้งานเเละจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน

     - ป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในบริเวณปฏิบัติงาน หากมีความเสี่ยงจากศัตรูพืชเเละสัตว์พาหะนำโรคให้มีมาตรการป้องกัน

     - การใช้เหยื่อหรือกับดักเพื่อกำจัดสัตว์พาหะนำโรค ให้จัดวางในบริเวณที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสู่ผลิตผล

     6. การพักผลิตผล การขนย้าย เเละการเก็บรักษา

              มีการจัดการ การพักผลิตผล การขนย้าย เเละการเก็บรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยเเละมีคุณภาพเหมาะสมกับการบริโภค

     - มีการจัดการด้านสุขอนามัยของสถานที่เเละวิธีการขนย้าย พักผลิตผล หรือเก็บรักษาผลิตผล

     - ใช้วัสดุปูรองพื้นหรือภาชนะบรรจุผลิตผลในบริเวณพักผลิตผลที่เก็บเกี่ยวเเล้ว

     - ไม่ใช้พาหนะที่ขนย้ายหรือขนส่งวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปุ๋ย หรือสารปรับปรุงดินในการขนย้ายหรือขนส่งผลิตผล

     - จัดวางผลิตผลที่เก็บเกี่ยวเเล้วในบริเวณพักผลิตผลอย่างเหมาะสม

     - การขนย้ายผลิตผลในแปลงปลูกให้ปฏิบัติด้วยความระมัดระวังเเละป้องกันการปนเปื้อนใช้พาหนะที่สามารถรักษาคุณภาพของผลิตผล

     - ขนส่งผลิตผลด้วยคความระมัดระวังเเละไปยังจุดรวบรวมสินค้าทันที

     7. บุคลากร

              น้ำที่ใช้ในการผลิตมาจากเเหล่งที่ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนในอาหาร เเละไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม เเละมีวิธีการจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยเเละมีคุณภาพ

     - ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจหรือได้รับการฝึกอบรมสุขลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ตามหน้าที่ที่รับชอบ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

     - ผู้ที่สัมผัสกับผลิตผลโดยตรงต้องมีการดูเเลสุขลักษณะส่วนบุคคลเเละมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผล

     - มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น น้ำดื่ม ที่พักระหว่างปฏิบัติงาน

     - หากเจ็บป่วย ให้รายงานให้หัวหน้างานทราบเพื่อตัดสินใจในการปฏิบัติงาน

     - ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุอันตรายทางการเกษตรได้รับการตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

     8. เอกสาร บันทึกข้อมูล เเละการตามสอบ

              มีการบันทึกเเละการเก็บรักษาบันทึกข้อมูลต่างๆที่สำคัญ ในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อใช้เป็นเเนวทางการปรับปรุงเเละพัฒนาการผลิต รวมถึงมีเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการตามสอบได้             

     - บันทึกข้อมูลเเละรวบรวมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน เช่น ผลวิเคราะห์น้ำเเละดิน(เมื่อมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัย) การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ข้อมูลปัจจัยการผลิต รหัส/ข้อมูลประจำแปลงปลูก การกำจัดสัตว์พาหะนำโรค ประวัติการฝึกอบรมเเละผลการตรวจสุขภาพ

     - จัดเก็บเอกสารเเละบันทึกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ เเยกเป็นฤดูกาลผลิตเเต่ละฤดูกาล

     - ระบุรุ่นผลิตผล หรือติดรหัส หรือเครื่องหมายเเสดงเเหล่งผลิต หรือวันที่เก็บเกี่ยว ปริมาณผลิตผล เเหล่งที่นำผลิตผลไปจำหน่าย ให้ตรวจสอบที่มาของผลิตผลได้

     - เก็บรักษาบันทึกข้อมูลเเละเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องไว้อย่างน้อย 2 ปีติดต่อกัน

     - กรณีผลิตผลมีการปนเปื้อน ให้สืบหาสาเหตุ หาเเนวทางเเก้ปัญหา มีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

     - ทบทวนการปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

              หากเกษตรกรปลูกพืชตามระบบ GAP จะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ ปลอดภัยจากการปนเปื้อน สารเคมี จุลินทรีย์ เเละศัตรูพืช เป็นที่ต้องการทั้งในเเละต่างประเทศ

              ดังนั้น การปฏิบัติในทุกขั้นตอน จึงถือเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันสินค้าเกษตรของไทยให้ก้าวไปสู่ตลาดโลก

ที่มา : http://e-book.acfs.go.th/Book_view/292