หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(มกษ. 1004-2557)
ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
ปฏิบัติตามข้อกำหนดให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานบังคับ ดังนี้
1. สถานประกอบการ :
1.1 ที่ตั้ง อยู่ในบริเวณที่ไม่ได้ทำให้เกิดการปนเปื้อนต่อผลไม้สดที่มีผลเสียต่อคุณภาพเเละความปลอดภัยของผู้บริโภค เเละไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพเเวดล้อมหากมีความเสี่ยงต้องมีมาตรการควบคุม เเละต้องได้รับการอนุญาตตามกฏหมาย ที่เกี่ยวข้อง
1.2 มีพื้นที่เพียงพอ สำหรับการปฏิบัติงานตั้งเเต่การรับวัตถุดิบการรม เเละการปฏิบัติหลังการรม
1.3 ห้องรม มีโครงสร้างมั่นคง เเข็งเเรง พื้นเเละผนังมีผิวเรียบ ไม่มีรอยร้าวใช้วัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อน ป้องกันการดูดซึมก๊าซ ป้องกันการรั่วของก๊าซได้ดี สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ทั้งนี้ห้องรมควรมีส่วนสังเกตการณ์เพื่อให้เห็นภายในห้องรมได้ รวมถึงมีอุปกรณ์ให้เเสงสว่างอยู่ในตำเเหน่งที่เหมาะสมเพียงพอต่อการปฏิบัติงานเเละระบบหมุนเวียนอากาศ สามารถเเพร่กระจายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้อย่างทั่วถึง
1.4 เครื่องมือเเละอุปกรณ์ ที่ใช้ในการรมมีสภาพสมบูรณ์เเละมีประสิทธิภาพ เครื่องชั่งกำมะถัน เเละ/หรือก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต้องเหมาะสมกับการใช้งานมีความละเอียดเพียงพอเเละถูกต้องเเม่นยำ มีนาฬิกาที่จับเวลาได้ถูกต้องเเละเเม่นยำ
1.5 ความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน อุปกรณ์ เครื่องมืออยู่ในสภาพใช้งานได้ดีเเละมีจำนวนเพียงพอสำหรับผู้ปฎิบัติงาน รวมถึงจัดให้มีสัญลักษณ์บ่งชี้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
2. การควบคุมการปฏิบัติงาน :
2.1 วัตถุดิบ ตรวจรับผลไม้สดตามข้อกำหนดของสถานประกอบการโดยให้มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการนำไปใช้
2.2 ภาชนะบรรจุผลไม้สด สะอาด เเข็งเเรง เเละเหมาะสมสำหรับการบรรจุที่จะทำให้ก๊าซสัมผัสกับผลไม้สดได้อย่างทั่วถึงขณะรม
2.3 กระบวนการรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- มีผลการตรวจสอบวิธีการรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของห้องรม โดยต้องมีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในผลไม้สดไม่เกินข้อกำหนดในกฏหมาย
- มีเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้องเเละชัดเจนสำหรับการปฎิบัติงาน
- ตรวจสอบห้องรมเเละอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม สะอาด เเละใช้งานได้ดี
- ควบคุมการจัดเตรียมผลไม้สด เพื่อรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในขณะรมให้ควบคุมเเละเฝ้าระวังการรมให้เป็นไปตามข้อกำหนด
2.4 การปฏิบัติหลังการรม
- เมื่อครบเวลาการรมเเละก่อนเปิดห้องรม ต้องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เหลือออกจากห้องรมอย่างเหมาะสมเเละมีประสิทธิภาพ
- ผลไม้สดในภาชนะบรรจุที่ออกจากห้องรม ให้มีการระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อป้องกันการตกค้างของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกินข้อกำหนดในกฎหมาย
2.5 การเก็บรักษา เก็บรักษาผลไม้ที่ผ่านการรมหรือรอการขนส่งในบริเวณที่เหมาะสม
2.6 การจัดการของเสีย สิ่งที่ไม่ใช้เเล้วหรือของเสียที่เหลือจากการผลิต ต้องมีการกำจัดของเสียอย่างเหมาะสม
3. การฝึกอบรม : หรือสอนงานให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เเละทักษะที่เหมาะสมกับการรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ พร้อมทั้งมีการทบทวนความรู้เเละปรับให้ทันสมัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4. เอกสารเเละการบันทึกข้อมูล :
- มีเอกสารเเละบันทึกข้อมูลกระบวนการผลิตรวมถึงการจำหน่าย เพื่อใช้ในการตรวจประเมินเเละตามสอบได้
- เก็บเอกสารเเละบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย 2 ปี
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละอาหารเเห่งชาติ (มกอช.)