บริหารจัดการน้ำ? เเบบยืดหยุ่นดีอย่างไร
ประจำเดือนตุลาคม 2564
1. ที่มาของปัญหา :
- ความเสี่ยงในการขาดเเคลนน้ำเพื่อการเกษตร
- ปัญหาในด้านการกระจายน้ำจากระบบชลประทาน
- เกษตรกรต้องการหาเเหล่งน้ำอื่นเข้ามาช่วยเสริม
- ขาดความรู้/เครื่องมือในการตรวจวัดน้ำเพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ
2. ข้อมูลวิจัย :
- สร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกร
- เสนอเเนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม
- เก็บข้อมูลที่จะใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกับเกษตรกร
- ร่วมวิเคราะห์หาสัดส่วนการใช้น้ำ จาก 5 เเหล่งน้ำ ได้เเก่ น้ำฝน น้ำพลัง น้ำจากบ่อน้ำ น้ำเหมือง น้ำที่สูบจากเเม่น้ำปิง
3. วัตถุประสงค์
► เพื่อร่วมวิเคราะห์หาสัดส่วนการใช้น้ำเเละบริหารจัดการน้ำจากเเหล่งน้ำประเภทต่างๆที่ใช้ในระบบเเปลง (on farm) กับเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา
► เพื่อเสนอเเนวทางการบริหารจัดการน้ำโดยการปรับใช้หลายเเหล่งน้ำร่วมกัน (Conjunctive use of multi-aeter resources) สำหรับพื้นที่ศึกษา
4. ผลสำเร็จจากงานวิจัย
- ลดความเสี่ยงการขาดน้ำใช้ในการเกษตร
- เป็นตัวอย่างนำร่องของกระบวนการวิเคราะห์สำหรับพื้นที่เกษตรอื่นๆ
- สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการวิเคราะห์หาหลักเกณฑ์การเก็บค่าน้ำได้ในอนาคต
- สร้างความเข้าใจในการดูเเลระบบชลประทานให้กับเกษตรกร