มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุดอกกล้วยไม้
(มกษ.5502-2552)
ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
เป็นมาตรฐานระบบ กำหนดขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การปฎิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุดอกกล้วยไม้ ครอบคลุม ตั้งเเต่กระบวนการปฎิบัติงานตั้งเเต่รับดอกกล้วยไม้เข้าโรงคัดบรรจุจนออกจากโรงคัดบรรจุ มีเกณฑ์กำหนด เเละคำเเนะนำการปฏิบัติตามมาตรฐาน ดังนี้
1. สถานประกอบการ : สามารถป้องกันดอกกล้วยไม้ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากเเสงเเดด ลม ฝน การสะสมของเชื้อโรค เเละศัตรูพืช
2. การควบคุมกรปฏิบัติงาน :
2.1 มีเเผนการควบคุมการปฏิบัติงานเเต่ละขั้นตอนตามประเภทของดอกกล้วยไม้
2.2 การคัดคุณภาพดอกกล้วยไม้ : คัดเเยกขนาดเเละคุณภาพ ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องช่อดอกกล้วยไม้
2.3 การบรรจุดอกกล้วยไม้ : วัสดุที่ใช้ทำกล่องบรรจุควรเป็นของใหม่ สะอาด มีความเเข็งเเรงทนทานเเสดงข้อมูลรายละเอียดที่ถูกต้องลงบนฉลากหรือกล่อง
2.4 กรณี ที่มีการรมสารเมทิลโบรไมด์เพื่อกำจัดศัตรูพืชตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า : ให้ใช้ตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ผ่านการรับรองเเละขึ้นทะเบียนโรงรมจากกรมวิชาการเกษตร
2.5 การเก็บรักษาดอกกล้วยไม้ : ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 ํC หลังบรรจุลงกล่อง จนถึงเวลาขนย้ายขึ้นรถขนส่ง เพื่อรักษาคุณภาพ
3. การบำรุงรักษาเเละการสุขาภิบาล :
► ทำความสะอาดทั้งก่อนเเละหลังปฏิบัติงาน มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยพื้นที่สำหรับทำความสะอาดมือ รวมทั้งส่วนของห้องสุขา
► เครื่องมือเเละอุปกรณ์เพียงพอ เหมาะสม พร้อมใช้งาน มีการบำรุงรักษาเเละทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
► การควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตร จัดเก็บ เเยกไว้เป็นสัดส่วน มีป้ายชื่อชัดเจน เเละมีมาตรการกำจัดวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่เหลือใช้อย่างถูกต้อง
4. สุขภาพเเละการให้ความรู้เเก่ผู้ปฏิบัติงาน :
► มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ใช้ได้เเละเพียงพอ
► สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล มีอย่างเพียงพอ
► การดูเเลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานมีความเหมาะสมเพียงพอ
► การให้ความรู้ หรือฝึกอบรม
5. การบันทึกข้อมูล : บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ
► เเหล่งที่มาของวัตถุดิบ
► ชนิดเเละปริมาณดอกกล้วยไม้ที่ผลิต รุ่น/วัน
► การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เเละ/หรือ การรมเมทิลโบรไมด์ (ถ้ามี)
► อุณหภูมิเเละระยะเวลาการเก็บรักษาดอกกล้วยไม้ที่ผลิต/รุ่น/วัน
► ประเทศคู่ค้าปลายทาง
► เเละควรเก็บรักษาบันทึกข้อมูลอย่างน้อย 1 ปี
Scan QR Code
มกษ. 5502 - 2552
อ่านเพิ่มเติม
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละอาหารเเห่งชาติ