TH EN
A A A

การผลิตอาหารโคขุนด้วยเป้งจากลำต้นสับปะรด

21 มิถุนายน 2564    ครั้ง

การผลิตอาหารโคขุนด้วยเเป้งจากลำต้นสับปะรด

ประจำเดือนกรกฎาคม  2564

                แป้งจากลำดับสับปะรด เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการสกัดสารโบรมิเลน (bromelain; เอนไซต์ย่อยโปรตีนชนิดหนึ่งเเละเป็นเเหล่งคาร์โบไฮเดรตราคาถูก) ลดต้นทุน เพิ่มกำไร ทางเลือกใหม่เเก่ผู้เลี้ยงโค

                ลำต้นสับปะรด เป็นส่วนที่ต้องตัดทิ้งเเละปลูกใหม่ทุกครั้งหลังจากเก็บเกี่ยวเเล้ว ซึ่งโรงงานรับซื้อส่วนนี้ไปเพื่อ "สกัดสารโบรมิเลน"

จุดเด่น

  1. มีองค์ประกอบของเเป้งบริสุทธิ์เเละสัดส่วนของอะไมโลสสูง

  2. ให้พลังงานสูง

  3. ผลิตกรดไขมันระเหยง่ายได้มาก

  4. ช่วยลดการเกิดภาวะความเป็นกรดรุนเเรงในกระเพาะโค

  5. ต้นทุนวัตถุดิบต่ำกว่ามันสำปะหลังเเละข้าวโพด 1-1.5 เท่า

  6. มีจุลินทรีย์จำเพาะในการช่วยย่อยเเป้งได้ดี

  7. รักษาสิ่งเเวดล้อม

     สัดส่วนการให้อาหารโคขุน : การผสมอาหารหยาบทำให้สัตว์เคี้ยวเอื้องได้ดีขึ้น

  80  :  20  

ความสำเร็จในการจัดการอาหารข้น
ที่มีเเป้งจากลำต้นสับปะรดเป็นองค์ประกอบหลัก

  1. คุณค่าทางโภชนาการครบ

  2. สภาวะในกระเพาะรูเมนของโคปกติ

  3. สมรรถภาพการขุนที่ดี (อัตราการเติบโตเเละอัตราการเเลกเนื้อดี)

  4. เนื้อโคมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด

 

ที่มา : สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

อัลบั้มภาพ