คู่มือการพิจารณาเอกสารเกี่ยวกับที่ดินเพื่อขอรับรองมาตรฐานระบบการผลิต GAP/Organic
เรื่อง คำอธิบายเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน
ประจำเดือนมีนาคม 2564
1. โฉนดที่ดิน หมายถึง หนังสือสำคัญเเสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบัน นอกจากนี้ยังรวมถึงโฉนดเเผนที่ โฉนดตราจองเเละตราจองที่ว่า "ได้ทำประโยชน์เเล้ว" ซึ่งออกให้ตามกฎหมายเก่า เเต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์เช่นกัน
2. น.ส.2 หมายถึง หนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการเเสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งหนังสือหรือใบจองนี้จะออกให้เเก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
3. น.ส.3 หมายถึง หนังสือรับรองจากทางราชการว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินเเล้วออกให้เเก่ผู้ครอบครองที่ดินทั่วไป ในพื้นที่ที่ไม่มีระวาง หรือออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขต หรือนายอำเภอ
4. น.ส.3ก. หมายถึง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ออกให้ในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ
5. ใบเหยียบย่ำ ตาม พ.ร.บ ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 หมายถึง ใบอนุญาตให้เข้าจับจองที่ดิน ซึ่งนายอำเภอเป็นผู้ออกให้ไว้เเต่ไม่เกิน 50 ไร่ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้จับจองกรณีนี้ต้องทำประโยชน์ให้เเล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับเเต่ได้รับเหยียบย่ำ มิฉะนั้น จะสิ้นสิทธิเเห่งการจับจองในส่วนซึ่งยังไม่ทำประโยชน์ผู้ใดรับใบเหยียบย่ำจะโอนไปยังบุคคลอื่นไม่ได้ เว้นเเต่ตกทอดทางมรดก ปัจจุบันไม่มีการออกหลักฐานใบเหยียบย่ำเเล้วโดยได้ออกเป็นใบจองเเทน
6. ป.ส.23 หนังสืออนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์เเละอยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนเเห่งชาติ มีอายุการอนุญาติ 30 ปี
7. ส.ป.ก 4-01 หมายถึง หนังสือเเสดงการครอบครองที่ดินที่ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518
8. ก.ส.น.3 หมายถึง หนังสือรับรองการอนุญาตให้สมาชิกนิคมสหกรณ์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์
9. ก.ส.น.5 หมายถึง หนังสือเเสดงการทำประโยชน์ในนิคมสหกรณ์
10. หนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้นำมาบริหารจัดการตามมติคณะรัฐมนตรี 16 ธันวาคม 2513 เเละ 13 สิงหาคม 2517
11. น.ค.3 หมายถึง หนังสือเเสดงการทำประโยชน์ในนิคมสร้างตนเอง
12. ส.ค.1 (เเบบเเจ้งการครอบครองที่ดิน) หมายถึง เเบบเเจ้งการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ก่อนวันที่ประมวลกฏหมายที่ดินใช้บังคับ (พ.ศ.2497) โดยไม่มีหนังสือเเสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
13. หนังสืออนุญาต สทก.
- เเบบ สทก.1ก เเละ สทก.2ก : หนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์เเละอยู่อาศัยภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนเเห่งชาติ อนุญาตคราวละ 5 ปี
- เเบบ สทก.1ข : หนังสืออนุญาติให้ทำการปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนเเห่งชาติ อนุญาตคราวละ 10 ปี
- สทก.1 : หนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนเเห่งชาติ(ครั้งที่1) สิ้นสุดการอนุญาตเเล้ว ทั้งนี้ หนังสืออนุญาติ สทก. สามารถตกทอดไปถึงทายาทได้ ห้ามซื้อ-ขาย หรือให้บุคคลอื่นทำประโยชน์ที่ดิน สทก. เเละห้ามละทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือไม่อยู่อาศัยในที่ดิน สทก.
14. หนังสือรับรอง เเบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
14.1 หนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อขอรับรองมาตรฐานระบบการผลิต GAP หรือ Organic รับรองโดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่
14.2 หนังสือยินยอมให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการรับรองมาตรฐานการผลิต GAP หรือ Organic รับรองโดย เจ้าของที่ดิน
15. ใบจอง หมายถึง หนังสือเเสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวที่ออกให้ เนื่องจากโครงการจัดที่ดินให้ประชาชน เมื่อบุคคลที่ได้รับใบจองได้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด เเละเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดที่ดินกำหนดโดยครบถ้วนเเล้วเสร็จก็สามารถนำใบจองไปขอออกหนังสือเเสดงสิทธิในที่ดินได้เเต่ถูกห้ามโอน 5 ปี หรือ 10 ปี เเล้วเเต่กรณี โดย น.ส.2 ออกให้โดยนายอำเภอ สาวน น.ส.2ก. ออกให้โดยเจ้าพนักงานที่ดิน (พื้นที่ที่ รมต. ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอในการดำเนินการตามกฎหมายที่ดิน)
16. ใบไต่สวน (น.ส.5) หมายถึง หนังสือเเสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินเป็นหนังสือเเสดงให้ทราบว่าได้มีการสอบสวนสิทธิในที่ดินเเล้ว สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือเเสดงกรรมสิทธิ์ เเต่สามารถจดทะเบียนโอนให้กันได้
17. เเบบ ป.ส.31 หมายถึง หนังสืออนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสวนป่าหรือปลูกไม้ยืนต้นภายในเขตป่าสงวนเเห่งชาติ อาศัยตามมาตรา20 เเห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนเเห่งชาติ พ.ศ. 2507 ในกรณีป่าสงวนเเห่งชาติเเห่งใดมีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมตามมาตรา 16 ให้อธิบดีกรมป่าไม้ โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม มีอำนวจอนุญาตเป็นหนังสือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำการบำรุงป่า หรืออนุญาต เเต่ในกรณีที่จะอนุญาตให้เกิน 2,000 ไร่ ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี การพิจารณาให้เป็นไปตามระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการอนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสงวนป่าหรือปลูกไม้ยืนต้นภายในเขตป่าสงวนเเห่งชาติ พ.ศ.2548
18. ใบนำ หมายถึง หนังสือสำคัญเเสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินถูกยกเลิกโดย มาตรา4(2) เเห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 โดย มาตรา1 เเห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ให้ใบนำมีฐานะเท่ากับใบไต่สวน
19. ตราจอง หมายถึง หนังสืออนุญาตให้จับจองที่ดินเพื่อให้ผู้ขอเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินมีหลายรูปเเบบ ดังนี้
1. ออกตาม พ.ร.บ. สำหรับผู้รักษาเมือง กรมการเเละเสนา กำนัน อำเภอ ซึ่งออกเดินประเมินนา จุลศักราช 1236 (ร.ศ.93 พ.ศ.2417) ข้าราชการกรมนา เป็นผู้ออกให้ตราจองนี้ ต้องทำประโบชน์ภายใน 3 ปี ถ้าไม่ทำประโยชน์ให้ถือว่าขาดสิทธิในที่ดินนั้น ตามนัยข้อ 11 เเห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
2. ตราจองที่ทรงพระกรุงณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงขุดคลองออกให้เเก่ราษฎรที่ช่วยขุดคลอง ตามประกาศขุดคลอง จุลศักราช 1239 (ร.ศ.96 พ.ศ.2420) ตราจองที่ออกให้เเก่ราษฎที่ช่วยขุดคลองนี้ ผู้ได้รับตราจองต้องทำสวนทำไร่ให้เกิดประโยชน์ภายใน 5 ปี ถ้าครบกำหนด 5 ปีเเล้ว ผู้ใดไม่ทำที่ดินนั้นให้เกิดประโยชน์ ข้าหลวงฯ จะเรียกเอาตราจองนั้นคืน
3. ตราจองชั่วคราว ออกตาม พ.ร.บ. ออกตราจองที่ดินชั่วคราว ร.ศ.121 (พ.ศ.2445) ต่อมามีประกาศเปลี่ยนนามเป็น พ.ร.บ.ออกโฉนดตราจอง ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) เรียกตราจองดังกล่าวว่า โฉนดตราจอง
4. ตราจองออกตาม พ.ร.บ. ออกโแนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 ตราจองนี้เป็นใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ผู้ได้รับอนุญาตต้องทำประโยชน์เเล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับเเต่วันได้รับตราจองมิฉะนั้นสิ้นสิทธิเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์เเละจะโอนไม่ได้เว้นเเต่ตกทอดทางมรดก
5. ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์เเล้ว" คือ ตราจองที่ผู้ได้รับอนุญาตได้ทำประโยชน์ ใที่ดินตามกำหนดเงื่อนไขของกฎหมายเเล้ว ต่อมาผู้ขอจับจองได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกตราจอง ที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์เเล้ว" ตามมาตร 10 เเละมาตร 11 เเห่งพระราชบัญญัติออกโแนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2497 บัญญัติว่า สามารถโอนกันได้เเละผู้ถือมีกรรมสิทธิ์ตามกฏหมาย
ที่มา : http://e-book.acfs.go.th/Book_view/227