การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการทำนาเกลือทะเล (มกษ.9055-2562)
ประจำเดือนมีนาคม 2564
ข้อกำหนด มกษ.9055-2562 มีเกณฑ์การตรวจประเมิน จำนวน 9 ข้อดังนี้
1. สถานที่ทำนาเกลือทะเล : สถานที่ทำนาเกลือทะเลที่เหมาะสมจะช่วยให้ผลิตเกลือทะเลธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เกลือทะเลธรรมชาติที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อการบริโภค
1.1 อยู่ใกล้ทะเลเพื่อสะดวกต่อการนำน้ำทะเลเข้าสู่แปลงนาสำหรับใช้ผลิตเกลือ (ข้อกำหนดรอง)
1.2 พื้นที่แปลงนามีลักษณะเป็นพื้นราบ จัดแบ่งพื้นที่เป็นกระทงนาที่สามารถเก็บกักน้ำได้และถ่ายเทน้ำระหว่างกระทงนาได้ (ข้อกำหนดรอง)
1.3 ต้องไม่ทำนาเกลือทะเลในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย และคุณภาพของเกลือทะเลธรรมชาติ หรือมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน เช่น มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังคุณภาพน้ำทะเลเกลือหรือผลิตผลเกลือทะเลธรรมชาติ (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- บริเวณที่มีความเสี่ยง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล แหล่งทิ้งขยะ ตลาดนัดค้าสัตว์
- มีเอกสารแผนผังของแปลงนาและมีวิธีจัดการน้ำในแปลง
- หากมีหน่วยงานรัฐเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล เกษตรกรควรขอผลวิเคราะห์น้ำทะเลจากหน่วยงานนั้นมาเก็บไว้
2. การพักน้ำทะเล : การพักหรือเก็บกักน้ำทะเลก่อนนำมาใช้ผลิตเกลือทะเล จะช่วยให้มีการตกตะกอนของสิ่งเจือปนในน้ำทะเล ทำให้คุณภาพน้ำทะเลเหมาะสมสำหรับการผลิตเกลือทะเลที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค
2.1 นำน้ำทะเลในช่วงที่มีคุณภาพดีเข้ามาพักหรือกักเก็บไว้ในวังขังน้ำ เพื่อช่วยให้มีการตกตะกอนของสิ่งเจือปนในน้ำทะเล และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการทำนาเกลือทะเล (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- มีการบันทึกที่ระบุช่วงเวลา (วัน เดือน ปี) ที่นำน้ำมาพักไว้ในวังขังน้ำ
- น้ำทะเลที่มีคุณภาพดี หมายถึงที่นำเข้ามาพักไว้ในวังขังน้ำช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
3. การปฏิบัติในกระบวนการผลิตเกลือทะเลธรรมชาติ : มีวิธีการปฏิบัติและมาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้มั่นใจว่าเกลือทะเลธรรมชาติผลิตภายใต้สภาวะที่ถูกสุขลักษณะ และได้เกลือทะเลธรรมชาติที่มีคุณภาพ ปลอดภัย สำหรับการบริโภค
3.1 มีมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันสิ่งปฏิกูลและสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ โดยเฉพาะขยะที่มาจากภายนอก (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- ควรมีมาตรการป้องกัน/กำจัด เช่น การกั้นแปลงด้วยตาข่าย เพื่อไม่ให้สัตว์เลี้ยง สัตว์พาหะเข้ามาในพื้นที่ในช่วงเก็บเกี่ยว หรือกำจัดขยะในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ
3.2 มีการเก็บเศษตะกอนแห้งที่ทับถมอยู่กับพื้นกระทงนา (ขี้แดด) ออกก่อนเริ่มฤดูการผลิตและระหว่างการผลิต หากมีขี้แดดเกิดขึ้นในนารองเชื้อ ควรเก็บออกตามความเหมาะสม (ข้อกำหนดรอง)
3.3 มีการจัดการกับผลิตผลพลอยได้นอกเหนือจากเกลือทะเลธรรมชาติ เช่น น้ำเค็ม ดีเกลือ ขี้แดดอย่างเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- มีวิธีการจัดการผลพลอยได้ เช่น น้ำเค็ม ดีเกลือ ขี้เเดด อย่างเหมาะสม อาจมีบันทึกการเเสดงรายได้รายการจำหน่ายผลพลอยได้ดังกล่าวไว้ (ถ้ามี)
3.4 มีวิธีการเเยกเกลือจืด ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเเคลเซียมซัลเฟต ออกจากนาตากตามความเหมาะสม เช่น การขูด/ร่อนเกลือจืดออกจากดิน เพื่อให้สามารถผลิตเกลือทะเลธรรมชาติที่มีคุณภาพ (ข้อกำหนดรอง)
3.5 มีการบำรุงรักษาแปลงนาเกลือ เช่น ร่องน้ำ ร่องระบายน้ำภายในกระทงนา (ขานา) คันดินรอบกระทงนา ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน (ข้อกำหนดรอง)
3.6 มีวิธีการจัดการเเละกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ (ข้อกำหนดหลัก)
3.7 การเก็บเกี่ยวเกลือทะเล (การรื้อเกลือ) ต้องปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยเเละคุณภาพของเกลือทะเลธรรมชาติ (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- ขณะเก็บเกี่ยวต้องไม่มีสิ่งปนเปื้อน เช่น คราบน้ำมัน สิ่งเเปลกปลอมที่น่ารังเกียจ สิ่งแปลกปลอมที่น่ารังเกียจ สิ่งปฏิกูลที่มีผลต่อคุณภาพเเละความปลอดภัยของเกลือ
- ผู้รับจ้าง เเละอุปกรณ์ที่ใช้เก็บเกี่ยวต้องไม่มีผลต่อคุณภาพเเละความปลอดภัยของเกลือ
4. การปฏิบัติต่อผลิตผลเกลือทะเลธรรมชาติและการเก็บรักษา : มีการปฏิบัติเเละเก็บรักษาเกลือทะเลธรรมชาติในลักษณะที่สามารถควบคุมการปนเปื้อน ที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยเเละคุณภาพของเกลือทะเลธรรมชาติ
4.1 มีการจัดการสถานที่เเละวิธีการขนย้าย พัก เเละ/หรือเก็บรักษาเกลือทะเลธรรมชาติอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากอันตรายเเละสิ่งเเปลกปลอม ที่มีผลต่อความปลอดภัย เเละคุณภาพของเกลือทะเลธรรมชาติ (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- มีบันทึกที่ระบุวิธีการขนย้าย พัก/เก็บรักษา
- สถานที่เก็บรักษาเกลือทะเล ต้องสามารถป้องกันสัตว์เลี้ยง/สัตว์พาหะ สิ่งปนเปื้อนต่างๆ ได้
- อุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการขนย้ายต้องสะอาด/มีความเหมาะสม/เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเเก่ผลิตผล
4.2 มีการป้องกันผลิตผลเกลือทะเลธรรมชาติ ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกหรือสิ่งที่เป็นอันตรายอื่นๆ จากพื้นดินในบริเวณพักเเละ/หรือเก็บรักษา เช่น การรองพื้นด้วยเกลือ (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- เกลือทะเลที่เก็บเกี่ยวต้องไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย/สิ่งเเปลกปลอม เช่น น้ำมันเครื่อง สารเคมี ฝุ่น หากมีความเสี่ยงในการปนเปื้อนให้มีการป้องกัน เช่น วัสดุรองพื้น
5. เครื่องมือและอุปกรณ์ : เครื่องมือเเละอุปกรณ์บางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องมีการทำความสะอาดเเละบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
5.1 ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเเละอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- จัดเก็บเครื่องมือเเละอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ เเยกเป็นสัดส่วน
- บำรุงรักษาเครื่องมือเเละอุปกรณ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน
5.2 มีการอบรม/สอนงานผู้ปฏิบัติงานในการใช้งานอุปกรณ์เเละเครื่องมือที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- บันทึกการฝึกอบรมเเละจัดเก็บไว้
5.3 ทำความสะอาดเเละบำรุงรักษา อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการทำนาเกลือทะเลเเละขนย้ายเกลือทะเลธรรมชาติ รวมทั้งภาชนะที่ใช้ในการบรรจุทุกครั้งหลังการใช้งานเเละจัดเก็บ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ อย่างถูกสุขอนามัย (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- เครื่องมือเเละอุปกรณ์สะอาด ไม่เป็นสนิม ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพเเละความปลอดภัยของเกลือ
6. การจัดการ การล้าง/โม่/บด (ถ้ามี) และการบรรจุ : มีการป้องกันการปนเปื้อนในขั้นตอนการล้าง/โม่/บด (ถ้ามี) เเละการบรรจุจะช่วยสร้างความมั่นใจ ในความปลอดภัยของเกลือทะเลธรรมชาติ
6.1 ทำความสะอาดภาชนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ให้สะอาด (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- เครื่องมือเเละอุปกรณ์สะอาด ไม่เป็นสนิม ไม่ก่อผลเสียต่อคุณภาพเเละความปลอดภัยของเกลือทะเล
6.2 จัดให้มีระบบป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งเเปลกปลอม เช่น เเก้ว หรือโลหะจากเครื่องจักร สารเคมีที่ไม่พึงประสงค์ (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- มีวิธีป้องกัน กำหนดสิ่งเเปลกปลอม
6.3 หลีกเลี่ยงการบรรจุในบริเวณที่มีฝุ่นละอองที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อน หรือมีมาตรการป้องกัน (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- สถานที่บรรจุเกลือทะเล ต้องมีมาตรการป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอก เช่น มุ้ง ม่าน
6.4 มีการตรวจสอบเเละคัดเลือกเกลือทะเลก่อนล้าง/โม่/บด (ถ้ามี) เเละการบรรจุ (ข้อกำหนดรอง)
6.5 ใช้ภาชนะที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนของเกลือทะเลได้เพียงพอ (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- ภาชนะบรรจุเกลือทะเล สะอาด ไม่เป็นสนิม ไม่ทำจากไม้ เเละไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพเเละความปลอดภัยของเกลือ
6.6 กรณีใช้ถุงซ้ำ ต้องไม่ใช้ถุงที่ผ่านการบรรจุปุ๋ย ซีเมนต์ สารเคมี หรือสารอันตรายอื่นๆ (ข้อกำหนดหลัก)
6.7 การบรรจุในถุงขนาดใหญ่/กระสอบ น้ำหนักบรรจุไม่ควรเกิน 50 กินโลกรัม (ข้อกำหนดรอง)
7. การควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ : สัตว์พาหะนำเชื้อเป็นสาเหตุหลักที่เป็นอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยของอาหาร จึงควรมีการปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดสภาพเเวดล้อมที่จะชักนำสัตว์พาหะนำเชื้อเข้าในพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมถึงการตรวจเฝ้าระวังที่ดี จะสามารถลดการเข้าอยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำเชื้อ
7.1 มีการป้องกันไม่ให้มีสัตว์เลี้ยงอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานโดยเฉพาะบริเวณเก็บเกี่ยวบรรจุ เเละเก็บรักษา ผลผลิตเกลือทะเลธรรมชาติ (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- มีเเนวกั้น หรือล้อมรั้ว เพื่อไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้ามาในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะบริเวณเก็บเกี่ยว บรรจุ เเละเก็บรักษาเกลือทะเล
7.2 มีการป้องกัน ดูเเลมิให้มีสัตว์พาหะนำเชื้อภายในบริเวณที่เก็บรักษาผลผลิตเกลือทะเลธรรมชาติ รวมถึงบริเวณการล้าง/โม่/บด (ถ้ามี) เเละการบรรจุ (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- สถานที่เก็บรักษาเกลือมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น มุ้ง ม่าน เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยง/สัตว์พาหะนำเชื้อ เข้าไปอยู่อาศัย หรือเข้าถึงสถานที่เก็บเกี่ยว บรรจุ เเละเก็บรักษา
8. สุขลักษณะส่วนตัว : ผู้ที่ไม่รักษาความสะอาดส่วนบุคคลไว้ในระดับที่เหมาะสม ผู้ที่เจ็บป่วย หรือมีพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารเเละทำให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยได้
8.1 ห้ามไม่ให้บุคลากรที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่อาจส่งผ่านสู่อาหารได้ เช่น โรคบิด โรคอุจจาระร่วง โรคไทฟรอยด์ โรคอหิวาตกโรค เข้าไปในบริเวณปฏิบัติงาน (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- มีบันทึกผลตรวจสุขภาพประจำปี (ถ้ามี)
8.2 บุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำ เช่น เจ้าของนา ผู้จัดการ (นายนา หรือคนเดินน้ำ) ควรมีความรู้/ได้รับการฝึกอบรม/ประชุม เรื่องสุขลักษณะที่ควรปฏิบัติ (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- มีบันทึก/หลักฐานการฝึกอบรม ประชุมชี้เเจงความรู้เรื่องสุขลักษณะที่ควรปฏิบัติ เช่น การเเต่งกาย การทำความสะอาด พฤติกรรมการผลิตที่ดี
8.3 ผู้ปฏิบัติงานต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้ห้องสุขา (ข้อกำหนดหลัก)
**คำแนะนำ**
- มีการล้างมือที่ถูกต้อง เเละถูกสุขลักษณะ
8.4 ควรสวมชุมสำหรับการปฏิบัติงานที่เหมาะสมเเละสะอาด ถ้าสวมถุงมือ ควรใช้ถุงมือสะอาด (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- เสื้อสะอาด ไม่ขาดรุ่ย กางเกงควรเป็นขายาว
8.5 ผู้ปฏิบัติงานต้องล้างเท้าให้สะอาดก่อนปฏิบัติงานในการเก็บเกี่ยว หรือสวมรองเท้าที่สะอาด เเละเหมาะสม รวมทั้งปลอดภัยในการปฏิบัติงาน (ข้อกำหนดหลัก)
8.6 ผู้ปฏิบัติงานต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผลเกลือทะเลธรรมชาติ เช่น การสูบบุหรี่ การถ่มน้ำลาย การไม่ใส่รองเท้า การไม่สวมเสื้อ การดื่มสุรา การกินอาหารขณะปฏิบัติงาน
8.7 จัดทำสื่อ เช่นป้ายประกาศ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ เพื่อเเนะนำด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล ที่ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจเเละสามารถปฏิบัติงามได้ง่าย (ข้อกำหนดรอง)
**คำแนะนำ**
- มีป้ายเเนะนำวิธีล้างมือ ติดในบริเวณหน้าห้องสุขา หรือมีป้ายเตือนการกระทำที่ไม่เหมาะสม เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ติดในบริเวณปฏิบัติงาน
9. ระบบเอกสารและบันทึกข้อมูล : ระบบเอกสารเเละบันทึกข้อมูลสามารถช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือเเละประสิทธิภาพของระบบควบคุมความปลอดภัยของอาหาร รวมถึงสามารถใช้เป็นเเนวทางในการปรับปรุงเเละพัฒนาการทำนาเกลือทะเล เเละมีเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการตามสอบผลผลิตได้
9.1 บันทึกข้อมูลของกระบวนการผลิตเกลือทะเล ดังต่อไปนี้ (ข้อกำหนดรอง)
- ข้อมูลรหัสเเปลงนาเเละข้อมูลประจำเเปลงนา
- วัน เดือน ปี ที่นำน้ำทะเลเข้า เก็บเกี่ยว เเละบรรจุ
- ปริมาณเกลือทะเลธรรมชาติที่เก็บเกี่ยวได้ในเเต่ละกระทงนา
- ข้อมูลผู้รับซื้อหรือเเหล่งที่นำผลิตผลไปจำหน่าย รวมถึงปริมาณที่จำหน่าย (ในกรณีมีการจำหน่าย ผลิตผลเกลือทะเล)
- ข้อมูลการใช้พาหนะขนส่ง
- ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการฝึกอบรม/สอนงาน
9.2 เก็บรักษาบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานเเละเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไว้อย่างน้อย 3 ปี ของการผลิตติดต่อกัน หรือตามข้อกำหนดของผู้ซื้อหรือประเทศคู่ค้าเพื่อให้สามารถตามสอบเเละเรียกคืนสินค้าเมื่อเกิดปัญหาได้ (ข้อกำหนดรอง)
ลักษณะเกลือทะเลธรรมชาติมี 2 ชนิด ได้แก่
1. เกลือเม็ด มี 4 แบบ ดังนี้
1.1 เกลือขาว เป็นผลึกเกลือสีขาวใสหรือขาวขุ่น สามารถใช้บริโภคโดยตรงได้
1.2 เกลือกลาง เป็นผลึกเกลือสีขาวน้อยกว่าเกลือขาวสามารถใช้บริโภคโดยตรงได้ แต่ส่วนใหญ่ใช้ถนอมอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร
1.3 เกลือดำ เป็นผลึกสีขาวน้อยกว่าเกลือกลาง ไม่เหมาะสำหรับบริโภคโดยตรง หากใช้สำหรับบริโภคต้องผ่านกระบวนการล้างน้ำเกลือที่เหมาะสม
1.4 เกลือป่น เป็นผลึกเกลือละเอียดสีขาวในระดับเกลือขาวหรือเกลือกลาง สามารถใช้บริโภคโดยตรงได้
2. ดอกเกลือ : เป็นผลึกเกลือลักษณะบางและเป็นเหลี่ยมเล็กๆ สีขาวใสหรือทึบ ได้จากผลึกเกลือที่ลอยจับตัวเป็นแพบนผิวน้ำก่อนจะตกผลึกเป็นเกลือเม็ด มีแร่ธาตุต่างๆอยู่มาก รสชาติกลมกล่อม สามารถใช้บริโภคโดยตรงได้
ที่มา : http://e-book.acfs.go.th/Book_view/212