การผลิตข้าวสารหอมมะลิระยะเม่าสู่การค้าในเชิงพาณิชย์
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ประจำเดือนมกราคม 2564
การผลิตข้าวสารหอมมะลิระยะเม่าสู่การค้าในเชิงพาณิชย์
1. ยกระดับการผลิตสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะเเละสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer and Amart Farming)
2. การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาสู่อุตสาหกรรม
3. ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเเละกระจายรายได้ให้กับชุมชน
4. แก้ปัญหาข้าวเปลือกราคาตกต่ำ
5. เพิ่มทางเลือกข้าวเพื่อสุขภาพเเละมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเเละเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภค
6. สร้างและพัฒนาเครือข่ายกลไกสหกรณ์การเกษตรประชารัฐ
จุดเด่น
1. เพิ่มปริมาณการผลิตในระดับอุตสาหกรรม
2. กระบวนการผลิตมีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย
3. ลดระยะเวลาในการผลิต
4. ลดการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการจากกระบวนการผลิต
กระบวนการผลิตข้าวสารหอมมะลิระยะเม่า
เเบบภูมิปัญญา(ระดับครัวเรือน)
1. ข้าวเปลือก หรือข้าวเปลือกระยะเม่า
2. ล้างทำความสะอาด เเล้วเเช่น้ำ ข้าวเปลือกระยะเม่าเเช่ 1 ชั่วโมง ข้าวเปลือกเเช่ 4-5 ชั่วโมง
3. นึ่งด้วยหวดหรือหม้อซึ้ง
4. ตากเเดดกลางเเจ้งนาน 2-3 เเดด
5. กะเทาะเปลือก โดยไม่ขัดสี ร่อนเเยกขนาด/คัดคุณภาพ
6. บรรจุถุง
เเบบประยุกต์เทคโนโลยีเเละนวัตกรรม (เชิงพาณิชย์)
1. ข้าวเปลือกระยะเม่า
2. ล้างทำความสะอาด เเล้วเเช่น้ำ 1 ชั่วโมง คัดเเยกเมล็ดลีบเเละไม่สมบูรณ์ออก
3. นึ่งด้วยตู้นึ่งเเรงดัน
4. อบเเห้งด้วยโรงอบพลังงานเเสงอาทิตย์หรือตู้อบลมร้อน
5. กะเทาะเปลือก โดยไม่ขัดสี ร่อนเเยกขนาด/คัดคุณภาพ
6. บรรจุถุงสุญญากาศ
**ข้าวเปลือกระยะเม่าที่เก็บเกี่ยวเเล้วต้องนำมาผลิตทันที หรือ เก็บไว้ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เพื่อรอการผลิตต่อไป
ผลงานวิจัย : โครงการการสร้างเเละพัฒนาเครือข่ายการผลิตข้าวหอมมะลิระยะเม่าสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะเเละสมาร์ทฟาร์มเมอร์ด้วยกลไกสหกรณ์เกษตรประชารัฐ จังหวัดนครราชสีมา
ที่มา : สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)