มาตรฐานสินค้าเกษตร
(มกษ.6411-2562)
การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดี
GOOD HUSBANDRY PRACTICES FOR KENNEL
สำหรับคอกสุนัข .
ประจำเดือนกันยายน 2563
ข้อกำหนดการปฏิบัติ 9 ข้อ สำหรับคอกสุนัขเชิงพานิชย์
(โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ สุขภาพและสิ่งเเวดล้อม เพื่อให้สุนัขมีสุขภาพและคุณภาพดี)
1. ลักษณะคอกสุนัข
• สถานที่ตั้งและผังคอกสุนัข
- ได้รับการยินยอมจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
- อยู่ในพื้นที่และสภาพเเวดล้อมที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยง
- ไม่มีความเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพของสัตว์หรือมีมาตรการจัดการความเสี่ยง
- มีเเหล่งน้ำที่เหมาะสมเเละเพียงพอ
- มีขนาดเพียงพอ มีการวางที่ดี และจัดพื้นที่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสม
• โรงเรือนหรือกรง
- สร้างด้วยวัสดุที่เเข็งเเรงและคงทน
- ง่ายต่อการทำความสะอาดและบำรุงรักษา
- ระบายอากาศได้ดี
- สามารถป้องกันสัตว์อื่นๆได้
- สามารถป้องกันไม่ให้สุนัขหลบหนีได้
- จัดให้มีบริเวณเลี้ยงและที่นอน ที่เเห้งสะอาด เหมาะสม เเละมีพื้นที่เพียงพอต่อจำนวนสุนัขที่เลี้ยง
2. การจัดการคอกสุนัข
- มีคู่มือการจัดการคอกสุนัขที่เเสดงรายละเอียดการปฏิบัติงาน
- อาหารและน้ำมีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสุนัข
- ภาชนะให้อาหารและน้ำต้องสะอาด เหมาะสมกับพันธุ์ จำนวนเเละอายุสุนัข
- เก็บรักษาอาหารสัตว์ในที่ที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนและเสื่อมสภาพ
- โรงเรือน อุปกรณ์ และบริเวณโดยรอบต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ
- บำรุงรักษาโรงเรือนและอุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพดี มีความสะอาด
- สารเคมี ยาฆ่าเชื้อ หรือวัตถุอันตรายให้ใช้ตามคำเเนะนำในฉลากผลิตภัณฑ์หรือคำเเนะนำของสัตวเเพทย์
3. บุคลากร
- จัดเเบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรโดยคำนึงถึงจำนวนและพันธุ์ของสุนัขที่เลี้ยง
- มีสัตวเเพทย์ให้คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพสัตว์ สุขาภิบาล และการใช้ยา/วัคซีน
- บุคลากรที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีความรู้และได้รับการฝึกอบรม
4. การจัดการเลี้ยง/เพาะพันธุ์
- มีการทำเครื่องหมายประจำตัวสุนัข เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงไปถึงข้อมูลประจำตัวได้
- จัดให้อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่เหมาะสม และดูเเลจัดการสุขอนามัยที่ดี
- ใช้พ่อเเม่พันธ์ุที่มีสุขภาพเเข็งเเรง เเละเหมาะสมในการผสมพันธุ์
- จัดให้มีพื้นที่เเยกเฉพาะสำหรับการผสมพันธ์ุ
- ในช่วงท้ายของการตั้งท้อง ต้องจัดเตรียมพื้นที่สำหรับเเม่สุนัขใกล้คลอดเเละจัดหาอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
- มีมาตรการเพื่อควบคุมการคลอดให้เป็นไปอย่างปลอดภัย
- ในช่วงระยะให้นม ต้องจัดหาอาหารและน้ำให้เหมาะสมกับความต้องการเเม่สุนัข
- การหย่านม ลูกสุนัขควรคำนึงถึงระดับภูมิคุ้มกัน และการเเยกลูกออกจากเเม่ ควรคำนึงถึงพฤติกรรมทางสังคม
5. สุขภาพสุนัข
- มีการลังเกตความเป็นอยู่และสุขภาพของสุนัขทุกวัน หากพบความผิดปกติ ต้องเเจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือปรึกษาสัตว์เเพทย์ทราบ
- มีการป้องกันและควบคุมโรค โดยอยู่ภายใต้ความควบคุมของสัตว์เเพทย์หรือผู้ที่ได้มอบหมายจากสัตวเเพทย์
- มีมาตรการควบคุมการเข้า-ออกของคน สัตว์ เเละยานพาหนะ
- มีมาตรการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค
- มีการกักกันโรคสำหรับสุนัขนำเข้าใหม่ และเเยกสุนัขป่วยออกจากพื้นที่เลี้ยงสุนัขปกติ
- กรณีเกิดโรคระบาด/สงสัยว่าเกิดโรคระบาดต้องปฏิบัติตามกฎหมายและคำเเนะนำของกรมปศุสัตว์
- การบำบัดโรคต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูเเลของสัตวเเพทย์
6 การขนส่งและเคลื่อนย้ายสุนัข
- พาหนะและกรงที่ใช้ขนส่งต้องเเข็งเเรง เหมาะสมตามขนาดเเละอายุ
- มีการจัดการในการขนส่งสุนัขต่างพันธ์ุ หรือสุนัขที่เข้ากันไม่ได้
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพาหนะทุกครั้งหลังการขนส่ง
7. สวัสดิภาพสัตว์
- ดูเเลเเละปฏิบัติต่อสุนัขให้มีความเป็นอยู่ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์
8. สิ่งเเวดล้อม
- กำจัดซาก ขยะ ของเสีย โดยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นเเหล่งของกลิ่นเเละเชื้อโรค
9. การบันทึกข้อมูล
- บันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงานในการจัดการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและการควบคุมโรค
- เก็บรักษาบันทึกข้อมูลอย่างน้อย 3 ปี
ที่มา : มาตรฐานสินค้าเกษตร(มกษ.4611-2562)การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับคอกสุนัข (E-book)