การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับฟาร์มสุกร มกษ.6403-2558
ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2562
นิยาม
► สุกร (pig or swine) หมายถึง สัตว์ในวงศ์ Suidae ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus domesticus
► ฟาร์มสุกร (pig farm) หมายถึง สถานประกอบการเลี้ยงสุกร ซึ่งครอบคลุมถึง โรงเรือน สถานที่เก็บและเตรียมอาหารสัตว์ พื้นที่ทำลายซาก พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล รวมถึงสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
► โรงเรือน (pig house) หมายถึง อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคา โดยภายในอาจเเบ่งกั้นเป็นคอกสำหรับใช้เลี้ยงสุกร
► โรงเรือนเปิด (conventional house/opened house) หมายถึง โรงเรือนที่มีสภาพเเวดล้อมตามธรรมชาติ โดยจะเเปรผันไปตามสภาพเเวดล้อมภายนอกโรงเรือน
► โรงเรือนปิด (enclosed house/enviromenttally controlled house) หมายถึง โรงเรือนที่สามารถควบคุมสภาพเเวดล้อม ได้เเก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ และแสงสว่าง ให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงสุกร
► สัตว์พาหะ (vector) หมายถึง สัตว์และเเมลงที่สามารถนำเชื้อโรคเข้ามาสู่สุกรในฟาร์มได้
ข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร
1. องค์ประกอบฟาร์ม
• สถานที่ตั้ง
- ต้องได้รับการยินยอมจากราชการส่วนท้องถิ่น
- ตั้งอยู่ในพื้นที่เหมาะสมกับการเลี้ยงสุกร และมีเเหล่งน้ำสะอาดเพียงพอต่อการเลี้ยงสุกร
- อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากอันตรายทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ
• ผังและลักษณะฟาร์ม
- มีพื้นที่ขนาดเพียงพอเหมาะสมในการเลี้ยงสุกร ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งเเวดล้อมและสุขภาพสุกร มีรั้วหรือเเนวกั้นธรรมชาติที่สามารถควบคุมการเข้าออกของคนและสัตว์ต่างๆจากภายนอกได้
- เเยกพื้นที่ปฎิบัติงานเป็นสัดส่วน เช่น พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ที่เก็บอาหารสัตว์ พื้นที่สำหรับสุกรป่วย พื้นที่ทำลายซาก และพื้นที่จำหน่ายสุกร
• โรงเรือน
- มีโครงสร้างเเข็งเเรง ถูกสุขลักษณะ มีการระบายอากาศที่ดี ง่ายต่อการบำรุงรักษาและทำความสะอาด
- มีพื้นที่เพียงพอในการเลี้ยงสุกร และมีสภาพเเวดล้อมภายในโรงเรือนที่เหมาะสมกับสายพันธ์ุ ขนาด และอายุของสุกร
- กรณีโรงเรือนปิด มีมาตรการดำเนินการในกรณีไฟฟ้าดับหรือขัดข้องหรืออุปกรณ์อัตโนมัติไม่ทำงาน
2. อาหารสำหรับสุกร
- มีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหาร มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ทางกายภาพเบื้องต้นและห้ามใช้สารต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
- การผสมยาลงในอาหารสัตว์ให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูเเลของสัตวเเพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร มีสถานที่เก็บอาหารสัตว์ผสมยาเเยกออกจากการเก็บอาหารทั่วไปและมีป้ายบ่งชี้
- เก็บรักษาอาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์ในสภาพที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมสภาพ
- จัดภาชนะและอุปกรณ์ให้อาหารเหมาะสมกับอายุ จำนวน และขนาดของสุกร และจัดวางในตำเเหน่งที่สุกรทุกตัวเข้ากินอาหารได้
3. น้ำสำหรับสุกร
- เเหล่งน้ำที่ใช้ในฟาร์มต้องอยู่ในบริเวณที่ป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งที่เป็นอันตราย น้ำที่ใช้ในฟาร์มต้องสะอาด ปลอดภัย และมีปริมาณเพียงพอนำมาใช้ในฟาร์มได้ตลอดเวลา
- มีน้ำให้สุกรกินได้อย่างทั่วถึง
4. การจัดการฟาร์ม
• คู่มือการจัดการฟาร์ม
- มีคู่มือการจัดการฟาร์มที่เเสดงรายละเอียดการปฏิบัติงานที่สำคัญภายในฟาร์ม เช่น การจัดการฟาร์ม ระบบเลี้ยง อาหารและน้ำสำหรับสุกร สุขภาพสัตว์ การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ สิ่งเเวดล้อม และระบบการบันทึกข้อมูล
• บุคลากร
- มีจำนวนบุคลากรเหมาะสมกับจำนวนสุกรที่เลี้ยง จัดเเบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
- บุคลากรที่ดูเเลสุกรต้องมีความรู้ และได้รับการฝึกอบรมในการเลี้ยงสุกรหรือปฏิบัติงานในฟาร์มได้
- มีสัตวเเพทย์ที่ีมีใบอนุญาติเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง และใบรับรองเป็นสัตวเเพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
- ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มมีสุขลักษณะส่วนที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน
• การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา
- โรงเรือนเเละอุปกรณ์ สะอาด ถูกสุขลักษณะ บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีมีความปลอดภัยต่อสุกรและผู้ปฏิบัติงาน
- นำมูลสัตว์ออก และทำความสะอาด ไม่ให้หมักหมมภายในและบริเวณรอบๆ โรงเรือน
- ภายหลังจากย้ายสุกรออก ให้ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อคอกและอุปกรณ์และปิดพักก่อนนำสุกรใหม่เข้าเลี้ยงตามเวลาที่กรมปศุสัตว์กำหนด
5. สุขภาพสัตว์
• การป้องกันและควบคุมโรค
- อยู่ภายใต้การดูเเลของสัตวเเพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสัตวเเพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
- มีการป้องกันและควบคุมที่มากับยานพาหนะ อุปกรณ์ และบุคคลก่อนเข้าออกฟาร์มรวมถึงมีการจดบันทึกการผ่านเข้าออกจากฟาร์มที่สามารถตรวจสอบได้
- มีโปรเเกรมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการกำจัดพยาธิภายในและภายนอกภายใต้การดูเเลของสัตวเเพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
- มีมาตรการป้องกันสัตว์พาหะ
- มีวิธีการจัดการที่ถูกสุขลักษณะที่ดีภายในโรงเรือน เพ่อไม่ให้เป็นเเหล่งสะสมเชื้อโรค
- กรณีที่เกิดโรคระบาดหรือสงสัยว่าเกิดโรคระบาดต้องปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์และคำเเนะนำของกรมปศุสัตว์
• การบำบัดโรคสัตว์
- อยู่ภายใต้การดูเเลของสัตวเเพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร โดยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิชาชีพของสัตวเเพทย์ และตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9032 เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมการใช้ยาสัตว์
- การใช้เข็มฉีดยาสุกร มีวิธีปฏิบัติงานเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้เข็มฉีดยาค้างในตัวสัตว์ และมีมาตรการเเก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหา
6. สวัสดิภาพสัตว์
- เลี้ยงหรือดูเเลให้สุกรมีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม มีสุขอนามัยที่ดีมีที่อยู่ อาหาร และน้ำอย่างเพียงพอ กรณีที่สุกรป่วย บาดเจ็บ หรือพิการให้ปฏิบัติอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความทุกข์ทรมาน
7. สิ่งเเวดล้อม
- ควรจัดเก็บขยะมูลฝอยในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดอย่างเหมาะสม และถูกสุขลักษณะ
- มีวิธีการจัดการขยะติดเชื้อและขยะอันตราย
- การกำจัดและทำลายซากสุกรให้อยู่ในดุลยพินิจของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกรด้วยวิธีที่เหมาะสม
- มีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อปรับปรุงคุณภาพของน้ำทิ้ง โดยมาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกรต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- มีการจัดการมูลสุกร ไม่ให้เกิดกลิ่นรบกวน
8. การบันทึกข้อมูล
- ให้บันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่สำคัญในการจัดการฟาร์มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและการควบคุมโรค เช่น กรบริหารฟาร์ม การจัดการด้านการผลิต การควบคุม ป้องกัน และการบำบัดโรค รวมถึงบันทึกการจัดการด้านสิ่งเเวดล้อม
- เก็บรักษาบันทึกไว้ให้ตรวจสอบอย่างน้อย 3 ปี
*สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ คลิก หรือ สามารถ Scan QR Code ได้ที่