TH EN
A A A

รู้จักเพลี้ยแป้งสีชมพูในมันสำปะหลัง

4 กันยายน 2566    ครั้ง

เพลี้ยแป้งมันสีชมพู
 

ประจำเดือนกันยายน 2566

                    ตัวเต็มวัยเพศเมียมีสีชมพู มีเส้นแป้งด้านข้างสั้น และด้านหลังมีแป้งปกคลุมน้อยกว่าเพลี้ยแป้งลายและเพลี้ยแป้งสีเทา พบการระบาดในช่วงฤดูแล้ง ฝนทิ้งช่วง เข้าทำลายบริเวณยอด
ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้ง
                    การดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตา และลำต้น เพลี้ยแป้งจึงเข้ามาทำลายมันสำปะหลังได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต เมื่อเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยงแล้ว ก็จะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะข้นเหนียว มีรสหวาน ชักนำให้เกิดราดำเจริญปกคลุมใบพืช มีผลทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง ผลที่เกิดจากการเข้าทำลาย ทำให้ลำต้นมีข้อถี่ แตกใบเป็นพุ่มที่ยอดหรือถูกดูดน้ำเลี้ยงจนใบแสดงอาการแห้งตาย
ความเสียหาย
                    - ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก อาจต้องไถทิ้งและปลูกใหม่ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ท่อนพันธุ์เพิ่มขึ้น
                    - ผลผลิตจะลดลงประมาณ 20-80 เปอร์เซ็นต์
การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู
                    1. แช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูก
                    2. ปล่อยแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพู
การแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูก 
โดยการแช่ด้วยสารเคมี อย่างใดอย่างหนึ่ง นาน 5 - 10 นาทีก่อนนำไปปลูก
สารเคมีที่ใช้ในการแช่ท่อนพันธุ์
                    1. ไทอะมีโทแซม 25 % WG 4 กรัม + น้ำ 20 ลิตร
                    2. อิมิดาคลอพลิด 70 % WG 4 กรัม + น้ำ 20 ลิตร
                    3. ไดโนทีฟูแลน 10 % WG 40 กรัม + น้ำ 20 ลิตร
                    ต้นทุนในการแช่ท่อนพันธุ์ ใช้ไทอะมีโทแซม 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมอยู่ในอัตรา 200 ลิตร สามารถแช่ท่อนพันธุ์ปลูกได้ถึง 40 ไร่ ต้นทุนอยู่ที่ไร่ละ 20 บาท สารเคมีมีฤทธิ์ในการป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้ประมาณ 1 เดือนหลังจากนั้นควรหมั่นตรวจแปลงสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์

 

แหล่งที่มาข้อมูล : มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย https://tapiocathai.org/J2.html