TH EN
A A A

เรื่องต้องรู้ "กระท่อม" สรรพคุณทางยา ประโยชน์เเละโทษ

25 สิงหาคม 2565    ครั้ง

เรื่องต้องรู้ "กระท่อม"

ประจำเดือนกันยายน 2565

              กระท่อมในประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง และบางพื้นที่กล่าวกันต่อมาว่าสามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้ ชาวนานิยมบริโภคโดยการเคี้ยวใบสด หรือเอาใบมาย่างให้เกรียมและตาผสมกับน้ำพริกรับประทานเป็นอาหาร เพื่อให้มีแรงทำงานและสามารถทนตากแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย ชาวมลายูใช้ใบกระท่อมตำพอกแผล และใช้ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต ตลอดจนใช้กระท่อมเพื่อทดแทนฝิ่นในท้องที่ซึ่งหาฝิ่นไม่ได้ และบ่อยครั้งมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อควบคุมการติดฝิ่น โดยเฉพาะในประเทศนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน

   ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mitragyna speciosa Korth.   วงศ์  Rubiaceae

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
              กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง สูง 10 -15 เมตร อยู่ในตระกูล Mitragyna speciosa ใบคล้ายใบกระดังงา มีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว ดอกกลมโตขนาดเท่าผลพุทรา ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม. แหล่งที่พบ ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี พบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของ ประเทศมาเลเซีย

   สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม
              ใบกระท่อมประกอบด้วยแอลคะลอยด์ทั้งหมดประมาณร้อยละ ๐.๕ ในจำนวนนี้เป็นมิตราไจนีน (Mitragynine) ร้อยละ ๐.๒๕ ที่เหลือเป็น สเปโอไจนีน (Speciogynine) ไพแนนทีน (Paynanthine) สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) ตามลำดับ ซึ่งชนิดและปริมาณแอลคะลอยด์ที่พบแตกต่างกัน ตามสถานที่ และเวลาที่เก็บเกี่ยว ซึ่งแบ่งตามสูตรโครงสร้างได้สารประกอบ ๔ ประเภท คือ
     1. อินโดลแอลคะลอยด์ (Indole Alkaloids)
     2. ออกอินโดลแอลคะลอยด์ (Oxindole Alkaloids)
     3. ฟลาวานอยด์ (Elavanoids)
     4. กลุ่มอื่น ๆ เช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol), แทนนิน (Tannins)

   สรรพคุณทางยา
              สมัยโบราณกระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ปวดเมื่อย ตามร่างกาย ท้องเสีย ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท ในมุมมองของแพทย์แผน ไทยส่วนใหญ่ จะนำพืชใบกระท่อมมาใช้เป็นยารักษาแก้ท้องร่วง ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาขนาดนี้แล้ว เพราะมียาแผนปัจจุบันและแผนโบราณให้ผลเท่าเทียมหรือดีกว่าอีกทั้ง แม้ใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทำให้เสพติดและมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆการนำใปใช้ในทางที่ผิด ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน อาจเนื่องมาจากมีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก ยากันยุง และยาแก้ไอ (4×100)

ที่มารูปภาพ : https://health.kapook.com

ที่มาข้อมูล : https://www.oncb.go.th