TH EN
A A A

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ใบชาสด (มกษ.5703-2561)

14 กันยายน 2561    ครั้ง

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ใบชาสด (มกษ.5703-2561)

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis (L.) Kuntze วงศ์ Theaceae

ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561

คุณภาพที่ดีของใบชาสด

  01 สด สะอาด ปราศจากสิ่งเเปลกปลอมที่มองเห็นได้

  02 สภาพดี ไม่เน่าเสีย ไม่เปียกน้ำ

  03 ตรงตามพันธุ์ และไม่มีใบของพืชอื่นปลอมปน

  04 ไม่มีความเสียหายจากศัตรูที่กระทบต่อคุณภาพของใบชาสด

การแบ่งชั้นคุณภาพ เเบ่งเป็น 3 ชั้น

  1. Extra Class ใบชาสดต้องมีคุณภาพที่ดีที่สุด เป็นยอดอ่อนของใบชาที่ใบยังไม่คลี่ ไม่มีความผิดปกติด้านรูปร่าง และไม่มีผลกระทบต่อรูปลักษณ์ และคุณภาพของยอดใบชาสด

  2. Class 1 ใบชาสดต้องมีคุณภาพดี เป็นยอดอ่อนของใบชาที่ใบยังไม่คลี่และใบชาสดไม่เกินใบที่ 3 ถัดจากยอด อาจมีความผิดปกติหรือตำหนิเล็กน้อยได้ โดยขนาดของตำหนิต้องไม่เกิน 5% ของพื้นที่ผิวของใบชา

  3. Class 2 ใบชาสดต้องมีคุณภาพไม่เกินใบที่ 7 จากยอดอาจจะมีความผิดปกติหรือตำหนิเล็กน้อยได้ เช่น รอยช้ำ รอยไหม้  รอยขีดข่วน รอยเเผลเป็นตื้นๆ เเละร่องรอย การทำลายของศัตรูพืช โดยขนาดของตำหนิต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ผิวของใบชา

การบรรจุหีบห่อ

-ความสม่ำเสมอ ใบชาสดที่บรรจุในเเต่ละบรรจุภัณฑ์ต้องมีความสม่ำเสมอทั้งในเรื่องพันธุ์และคุณภาพ กรณีมองเห็นใบชาสดภายในบรรจุภัณฑ์ ส่วนที่มองเห็นต้องเป็นตัวเเทนของใบชาสดทั้งหมด

-ฉลาก

  • ต้องมองเห็นได้ง่าย ชัดเจน ไม่หลุดลอก ไม่เป็นเท็จหรือหลอกลวง
  • การใช้ภาษา
    -จำหน่ายภายในประเทศเป็นข้อความภาษาไทย มีภาษาต่างประเทศผสมได้
    -จำหน่ายเพื่อการส่งออกเป็นภาษาต่างประเทศ

-ภาชนะบรรจุ

  • สะอาด
  • สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพใบชาสด
  • ถ่ายเทอากาศได้ดี
  • ทนทานต่อการขนส่ง
  • ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อน
  • วุตถุที่สัมผัสใบชาสด ต้องสะอาดและไม่มีสิ่งแปลกปลอม

-เครื่องหมาย เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร

 ** Scan QRcode มกษ. ใบชาสด **  

 

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับใบชาสด (มกษ.5905-2556)

  1. น้ำที่ใช้ในการผลิต

  • ต้องมาจากเเหล่งน้ำที่ไม่มีสภาพแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุที่อันตรายต่อผลิตผลและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • ไม่ใช้น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • เเหล่งน้ำสำหรับการเกษตร ไม่ควรเป็นเเหล่งน้ำที่เกิดจากการทำลายสิ่งเเวดล้อม
  • มีการจัดการน้ำเสียที่เกิดจากการใช้งาน เช่น น้ำจากห้องสุขาน้ำทิ้งต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมของพื้นที่ปลูกเเละพื้นที่โดยรอบ

  2. พื้นที่ปลูก การดูเเลพื้นที่ปลูกใบชา

  • ไม่อยู่ใน สภาพเเวดล้อมที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนวัตถุ หรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผลผลิตที่กระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

  3. วัตถุอันตรายทางการเกษตร

  • ให้ใช้คำเเนะนำ หรืออ้างอิงคำเเนะนำของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือตามคำเเนะนำในฉลากที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
  • งต่อการปหยุดใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรก่อนการเก็บเกี่ยวตามช่วงเวลาที่ระบุไว้ในฉลากกำกับการใช้เเต่ละชนิด
  • ห้ามใช้อันตรายทางการเกษตรที่ห้ามผลิตนำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ครอบครอง
  • จัดเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรชนิดต่างๆ เป็นสัดส่วนในสถานที่เก็บเฉพาะ

  4. การจัดการคุณภาพกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว

  • เลือกต้นพันธุ์ ตรงตามพันธุ์ที่ต้องการผลิต มีความเเข็งเเรงสมบรูณ์ ปลอดจากศัตรูพืช
  • หากผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในฟาร์มจะต้องผ่านกระบวนการหมักหรือย่อยสลายโดยสมบรูณ์
  • มีอุปกรณ์การเกษตรที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
  • ตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มต้นชาให้เหมาะสมต่อการจัดการด้านการดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว
  • ให้น้ำอย่างเหมาะสมเเละเพียงพอกับความต้องการของต้นชา
  • พืชที่มีโรค ต้องเผาทำลายนอกเเปลงปลูก โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม

  5. การเก็บเกี่ยวเเละการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

  • เก็บเกี่ยวใบชาในช่วงเวลาและอายุที่เหมาะสมกับชนิดและผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
  • ปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค
  • สถานที่ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวต้องมีโครงสร้างที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากการปนเปื้อนลู่ผลิตผลและไม่วางผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้วสัมผัสกับพื้นดินโดยตรง

  6. การพักผลผลิต การขนย้ายในเเปลงปลูกและการเก็บรักษา

  • มีการจัดการด้านสุขลักษณะของสถานที่และวิธีการขนย้าย พักผลิตผลเก็บรักษาผลิตผล
  • สถานที่เก็บรวบรวมใบชาต้องเหมาะสม สะอาด มีอากาศถ่ายเทดี สามารถป้องกันน้ำ การปนเปื้อนจากสิ่งเเปลกปลอม
  • ใช้วัสดุปูรองพื้นในบริเวณที่พักผลิตผลที่เก็บเกี่ยวเเล้ว

  7. สุขลักษณะส่วนบุคคล

  • ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจหรือได้รับการฝึกอบรมสุขลักษณะส่วนบุคคล
  • มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลที่เพียงพอ เเละอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สามารถป้องกันของเสียต่างๆไม่ให้เกิดการปนเปื้อนสู่เเปลงปลูกและผลผลิต

  8. บันทึกข้อมูล และการตามสอบ

  • เอกสารและการบันทึกข้อมูล
    - การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
    - รายละเอียดเกี่ยวกับที่มา การใช้ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน
    - การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
    - ข้อมูลผู้รับซื้อผลิตผลหรือแหล่งที่นำผลิตผลไปจำหน่าย
  • การตามสอบ
    - ใบชาที่อยู่ระหว่างการเก็บรักษาและการขนย้ายต้องมีการระบุรุ่น หรือติดรหัส หรือเครื่องหมาย
    - เก็บรักษาบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานไว้อย่างน้อย 3 ปี

 ** Scan QRcode การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับใบชาสด ** 

 

 

 

 

อัลบั้มภาพ