TH EN
A A A

เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเเท่งจากเปลือกสับปะรดผสมซังข้าวโพด

30 พฤษภาคม 2565    ครั้ง

เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเเท่ง
จากเปลือกสับปะรด
ผสมซังข้าวโพด

ประจำเดือนมิถุนายน 2565        

ศึกษาความเหมาะสมทางเทคนิค

                การวิเคราะห์สมบัติด้านเชื้อเพลิงของเเท่งเชื้อเพลิงตามมาตรฐาน ASTM ประเมินวัฏจักรชีวิตของชีวมวลอัดเเท่งที่มีผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมโดยใช้โปรเเกรม SimaPro Version 9.1.1

   ศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตเชื้อเพลิงอัดเเท่ง : ค่าความร้อนของเชื้อเพลิงอัดเเท่งชีวมวลที่ได้มีค่าอยู่ในช่วงประมาณ 3,607 -3,995 kcal/kg มีความชื้น ปริมาณเถ้า สารระเหย เเละคาร์บอนคงตัว อยู่ในช่วงร้อยละ 16.55-18.67 , 2.52-3.10 , 64.78-71.22 เเละ 8.58-13.45 ตามลำดับ อัตราส่วนผสมที่ให้คุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงดีที่สุด คือ เปลือกสับปะรดบด 1 ส่วน ต่อ ซังข้าวโพดบด 1 ส่วน *พิจารณาจากค่าความร้อนที่ได้สูงที่สุด

   ผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมที่สำคัญจากการประเมินวัฏจักรชีวิตของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเเท่ง : ผลกระทบ Heavy metals เท่ากับ 0.0156 Pt รองลงมาคือ Acidification เท่ากับ 0.0005 Pt เเละ Carcinogens เท่ากับ 0.0004 Pt

   ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์พบว่า : อัตราผลตอบเเทนภายใน เท่ากับ 9.0% มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 27,522 บาท ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 6 ปี 8 เดือน ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เหมาะสมต่อการดำเนินโครงการ


ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงในการบริหารจัดการมากที่สุดคือ ราคาของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเเท่ง


สามารถขึ้นรูปเชื้อเพลิงอัดเเท่งชีวมวลได้ง่ายขึ้นโดยใช้ตัวประสานลดลง


ลดการเสียเวลาจากการตากเปลือกสับปะรดลง


ค่าพลังงานความร้อนที่ได้สูงขึ้น

**ปัญหา**เปลือกสับปะรดเหลือทิ้งจากการเเปรรูป มีปริมาณมาก เกิดการเน่าเสียส่งกลิ่นรบกวนซังข้าวโพดมีค่าความชื้นที่ค่อนข้างต่ำประมาณ 2.85% เเละให้ค่าพลังงานที่สูงเมื่อนำเปลือกสับปะรดที่มีความชื้นค่อนข้างสูงผสมกับซังข้าวโพดที่มีความชื้นที่ต่ำ จะทำให้สามารถขึ้นรูปเชื้อเพลิงอัดเเท่งได้ง่ายขึ้น

 

ที่มา : สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

 

อัลบั้มภาพ