TH EN
A A A

อินโดนีเซียเตรียมออกกฎหมายการติดฉลากอาหารใหม่กำหนดรูปแบบการคัดเกรดบนหน้าบรรจุภัณฑ์

8 October 2567   

                รัฐบาลอินโดนีเซียได้เสนอกฎระเบียบใหม่ที่จะบังคับใช้ระบบการติดฉลากไฟจราจร Nutri-Level System บนหน้าบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีน้ำตาล เกลือ (โซเดียม) และไขมันสูง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับระบบ Nutri-Level ของสิงคโปร์อย่างมาก
               
                เอกสารร่างกฎระเบียบใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่จากหน่วยงานกำกับดูแลอาหารและยาแห่งชาติ (BPOM) ได้เปิดเผยว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากระบบ Nutri-Level ได้ถูกรวมไว้ในร่างกฎระเบียบดังกล่าวแล้ว
               
                ระบบ Nutri-Level จะถูกใช้แสดงระดับปริมาณน้ำตาล เกลือ (โซเดียม) และไขมันทั้งหมดในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปด้วยอักษร A (สีเขียวเข้ม) B (สีเขียวอ่อน) C (สีเหลือง) และ D (สีแดง) ตามปริมาณสารอาหาร ทั้งนี้อาหารแปรรูปที่มีระดับโภชนาการ C หรือ D จะต้องแสดงระดับโภชนาการที่ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์

                สำหรับการติดฉลาก Nutri-Level จะดำเนินการทั่วทั้งอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในอินโดนีเซีย โดยแบ่งเป็นระยะๆ โดยระยะแรกจะมุ่งเน้นไปที่เครื่องดื่มพร้อมดื่มที่กำหนดให้มีระดับ C และ D และตามด้วยผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปอื่นๆ ในอนาคต
   
                อีกทั้ง BPOM ยังได้เตรียมนำโลโก้ “Healthier Choice” มาใช้แสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามเกณฑ์กำหนดและขนาบข้างด้วยข้อความ “เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ ที่คล้ายคลึงกันที่บริโภคในปริมาณที่เหมาะสม” ซึ่งข้อมูลบนฉลากจะช่วยให้ประชาชนสามารถเลือกอาหารและเครื่องดื่มได้ดีขึ้นตามความต้องการทางโภชนาการ ทั้งนี้การแสดงโลโก้จะไม่กระทบต่อชื่อแบรนด์และไม่บดบังข้อมูลสำคัญบนฉลากผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้รวมรายการโดยละเอียดของเกณฑ์ผลิตภัณฑ์ทุกรายการในหมวดหมู่อาหารและเครื่องดื่มที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อแสดงบนโลโก้นี้ เช่น เครื่องดื่มพร้อมดื่มต้องมีน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร
   
                นอกจากนี้ร่างกฎระเบียบยังระบุด้วยข้อความบางอย่างบนฉลากผลิตภัณฑ์ต้องชัดเจน เช่น ปริมาณอาหารหนึ่งต่อหน่วยบริโภค (serving sizes) ในกรณีที่ปริมาณสุทธิหรือน้ำหนักสุทธิของผลิตภัณฑ์น้อยกว่าปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่กำหนด ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคถูกกำหนดเป็นปริมาณสุทธิหรือน้ำหนักสุทธิ เช่น นมสด 1 หน่วยบริโภคต้องมีปริมาณระหว่าง 100 มล. ถึง 250 มล.


 

ที่มา : foodnavigator-asia, https://www.foodnavigator-asia.com/Article/2024/10/02/indonesia-plans-new-food-labelling-laws-to-mandate-nutri-level-front-of-pack-grading-scheme สรุปโดย : มกอช.

 

Is this article useful?