เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของญี่ปุ่น (CAA) ได้เผยแพร่ร่างมาตรฐานการติดฉลากอาหาร (Food Labeling Standards) ฉบับปรับปรุง โดยร่างดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขข้อกำหนดการติดฉลากและกระบวนการแจ้งเตือนสำหรับอาหารที่มีคำกล่าวอ้างเชิงสุขภาพ (Food with Function Claims: FFC) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบการแจ้งเตือนหลังเกิดเหตุการณ์โคบายาชิ (Kobayashi Pharmaceutical red yeast rice incident) ซึ่งเป็นวิกฤตด้านความปลอดภัยอาหารครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ‘ข้าวยีสต์แดง’ และทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย
คาดว่าการแก้ไขดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ยกเว้น (1) สิ่งที่อยู่ใน Appended Table 26 (Notification Method) รายการที่ 1 – 4 และรายการที่ 6 และ (2) สิ่งที่อยู่ใน Appended Table 26 (Compliance Content)รายการที่ 4 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2568 ทั้งนี้ CAA จะเปิดรับความคิดเห็นสาธารณะจนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ที่ https://www.caa.go.jp/notice/entry/038496/ การปรับปรุงที่สำคัญ มีดังนี้:
การติดฉลาก
1.ต้องแสดงฉลาก "機能性表示食品" (ฉลาก FFC) ไว้บริเวณส่วนหน้าของบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน จากเดิมที่สามารถแสดงฉลากนี้ไว้บริเวณใดของบรรจุภัณฑ์ก็ได้
2.เพิ่มการแสดงหมายเลขแจ้งเตือน (notification number) ของผลิตภัณฑ์ โดยต้องแสดงไว้ใกล้กับฉลาก FFC
ขั้นตอนการแจ้งเตือน
1.คำจำกัดความ CAA เพิ่มคำจำกัดความของ FFC โดยระบุว่า เมื่อมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าคุณประโยชน์ของส่วนผสมที่กล่าวอ้างในผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสำหรับการใช้บำรุงหรือรักษาสุขภาพ คณะกรรมาธิการของ CAA อาจพิจารณาให้ผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถติดฉลาก FFC ได้อีกต่อไป
2.กำหนดการ CAA เพิ่มระยะเวลาให้ผู้ประกอบการสามารถส่งการแจ้งเตือนให้ CAA ทราบ ก่อนวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 120 วัน จากเดิมที่ต้องแจ้งให้ CAA ทราบภายใน 60 วันก่อนวางจำหน่าย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ FFC นั้นต้องมีส่วนผสมชนิดใหม่ และ CAA เห็นว่าจำเป็นต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าคำที่กล่าวอ้างบนฉลากไม่ละเมิดต่อกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3.เนื้อหาการแจ้งเตือน ประเด็นสำคัญที่ควรทราบมีดังนี้:
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.caa.go.jp/notice/entry/038496/ (ภาษาญี่ปุ่น)
ที่มา : food.chemlinked สรุปโดย : มกอช.