นาย Baurzhan Kasenov ประธาน National Agrarian Scientific and Educational Centre (NASEO) ของคาซัคสถาน กล่าวว่า ตั๊กแตนเป็นแหล่งโปรตีนที่มีศักยภาพในการนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์และยังคาดว่าปัจจุบันมีกลุ่มผู้ที่สามารถบริโภคตั๊กแตนได้ประมาณ 2,000 ล้านคน ในขณะที่คาซัคสถานมีศักยภาพในการผลิตตั๊กแตน จึงได้พิจารณาแผนการผลิตและส่งออกตั๊กแตนไปยังสหภาพยุโรป รัสเซีย รวมถึงบางประเทศในแอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชีย และบางรัฐอิสลาม ทั้งนี้ปัจจุบันการบริโภคตั๊กแตนยังไม่แพร่หลายในสหภาพยุโรป แต่มีแนวโน้มในอีกไม่กี่ปีที่ผู้บริโภคจะบริโภคตั๊กแตนในฐานะโปรตีนทางเลือกมากขึ้น เช่น ในเนเธอแลนด์มีผู้ประกอบการแปรรูปตั๊กแตนเป็นอาหารประเภทโปรตีนแล้ว และรัฐบาลหลายประเทศในสหภาพยุโรปได้สนับสนุนเงินทุนวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากตั๊กแตน
ประเทศคาซัคสถาน มักประสบกับการถูกรบกวนด้วยตั๊กแตน จึงเปลี่ยนแนวคิดที่จะกำจัดตั๊กแตนเป็นการใช้ประโยชน์จากตั๊กแตน โดยมีตัวอย่างของรัสเซียในการจับตั๊กแตนด้วยอุปกรณ์พิเศษที่มีความเร็วสูงสำหรับจับตั๊กแตนบนพื้นดินในช่วงชีวิต 2-3 สัปดาห์แรกเพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพัฒนาวิธีจับตั๊กแตนโดยใช้ประจุไฟฟ้าเพื่อทำให้ตั๊กแตนเป็นอัมพาตก่อนจะนำไปผลิตเป็นอาหารปลา
ที่มา : ALL ABOUT FEED สรุปโดย : มกอช.