เกษตรกรและชาวประมงเกือบ 1 ล้านคนจะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติของสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงและความถี่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกรและการจับสัตว์น้ำของชาวประมงลดลง โดยเกษตรกรอาจต้องเปลี่ยนอาชีพเพื่อดำรงชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากความผิดปกติของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักหรือภัยแล้งเป็นเวลานานคาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (BSP) ระบุว่า ในช่วงปี 2536 – 2565 จำนวนแรงงานในภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.13 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่สภาพอากาศไม่ปกติ เช่น ปรากฎการณ์ไอโอดีนในมหาสมุทรอินเดีย (IOD – Indian Ocean Dipole) ที่เกิดขึ้นในปี 2537 ส่งผลให้จำนวนแรงงานลดลงกว่า 2.03 ล้านคนเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และในช่วงลานีญาที่เกิดขึ้นในปี 2554 จำนวนแรงงานลดลง 2.4 ล้านคนเมื่อเทียบกับปี 2553
นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 จำนวนเกษตรกรและชาวประมงจะลดลงมากถึงร้อยละ 2.4 หรือประมาณ 926,492 คน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ผิดปกติ โดยผู้ที่หันไปประกอบอาชีพอื่นส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่ไม่มีที่ดินหรือเรือประมงเป็นของตัวเอง โดยคาดว่าแรงงานในฟาร์มและภาคการประมงในปี 2565 – 2573 จะลดลงอย่างน้อยร้อยละ 20 และการลดลงของผู้ประกอบอาชีพอิสระน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6 เพราะเกษตรกรหรือชาวประมงเป็นผู้ได้รับความเสี่ยงต่อความผิดปกติของสภาพภูมิอากาศมากกว่าเมื่อทียบกับผู้ประกอบอาชีพอิสระอื่น ๆ ในขณะที่ สภาพอากาศที่เป็นกลาง ไม่มีความผิดปกติ จะส่งผลให้แรงงานภาคการเกษตรที่ทำงานให้กับผู้อื่นลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่คาดว่าจำนวนผู้ประกอบการด้านการเกษตรมีแนวโน้มที่จะเติบโตถึงร้อยละ 0.5 ในสถานการณ์เดียวกัน
สามารถอ่านรายงานความเคลื่อนไหวด้านการเกษตรในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 เพิ่มได้ที่: https://www.opsmoac.go.th/jakarta-news-preview-461891791888
ที่มา : ฝ่ายเกษตร ประจำสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงจาการ์ตา สรุปโดย : มกอช.