องค์กร 42 แห่งทั่วยุโรปร่วมกันเรียกร้องกรรมาธิการยุโรปให้ระงับการใช้สารเติมแต่งประเภทให้สี 6 ชนิดเนื่องจากผลการวิจัยที่เรียกว่า Southamton research ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนกันยายน 2550 โดยในการวิจัย เด็ก 300 คนได้ดื่มเครื่องดื่มชนิดใดชนิดหนึ่งใน 3 ชนิด ชนิดหนึ่งเจือสารให้สีในปริมาณมาก อีกชนิดหนึ่งเจือสารให้สีในปริมาณที่เด็กบริโภคโดยเฉลี่ยตามปกติที่ได้รับอยู่แล้ว และอีกชนิดหนึ่งไม่เจือสารให้สีดังกล่าวเลย และมีการวัดระดับกิจกรรมไฮเปอร์ของเด็กทั้งก่อนและหลังการดื่มพบความเชื่อมโยงของการบริโภคเครื่องดื่มที่มีสารให้สีดังกล่าวกับการไฮเปอร์ของเด็ก เช่น หุนหันพลันแล่น เสียสมาธิ อยู่เฉยไม่ได้
สารให้สีทั้ง 6 ชนิดได้แก่ tartrazine (E102) , quinoline yellow (E104) , sunset yellow (E110) , carmoisine (E122) , ponceau 4R(E124) , allura red (E129)
จดหมายถึงกรรมาธิการยุโรปนี้ระบุว่า มีความเสี่ยงหลายประการที่เชื่อมโยงกับการบริโภคสารให้สีดังกล่าวในขณะที่มีประโยชน์ใดๆ อย่างแท้จริง เพราะเป็นเพียงการให้สีอย่างเดียว และยังมีสีอื่นๆ ทดแทน และก็มีความเป็นไปได้ที่จะไม่ใช้สีในอาหาร ถึงแม้ว่าความเสี่ยงนั้นจะต่ำกว่าระดับที่อนุญาติให้บริโภคได้ในปัจจุบัน (ADI) มาก
ข้อเรียกร้องดังกล่าวมาในวันเดียวกับที่สำนักงานความปลอดภัยด้านอาหาร (FSA) ของสหราชอาณาจักรตัดสินใจที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการค่อยๆเลิกใช้สีดังกล่าว (โดยสมัครใจ) และให้คำแนะนำผู้ปกครอง รวมทั้งยื่นข้อเสนอแนะให้กรรมาธิการยุโรปห้ามใช้สารให้สีทั้ง 6
มติดังกล่าวของ FSA ได้รับการตอบสนองต่างกันไป บางกลุ่มในอุตสาหกรรมมองว่านี่เป็นมาตรการที่จำเป็นในการปกป้องผู้บริโภค ในขณะที่บางคนมองว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ได้ได้ใช้สารให้สีทั้ง 6 ชนิด แต่ก็มีอาหารและเครื่องดื่มจำนวนไม่น้อยที่ยังมีปัญหาในการหาสูตรใหม่ (ช่นหาสารทดแทน) ด้วยเหตุผลทางเทคนิคซึ่งอาจทำให้สินค้าต้องหายออกไปจากชั้นจำหน่าย และขณะนี้กำลังมีการใช้สารทดแทนโดยสมัครใจ หากมีการบีบบังคับมากเกินไปจะก่อให้เกิดแรงกดดันและเพิ่มต้นทุนให้กับอุตสาหกรรม
กลุ่มที่สนับสนุนมติของ FSA สหราชอาณาจักรได้จัดทำรายชื่อผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 รายการในสหราชอาณาจักรที่ยังคงใช้สารให้สีดังกล่าวเผยแพร่ในเวปไซด์ของตน
ทีมวิจัย Southamton research ยินดีกับการตัดสินใจของ FSA สหราชอาณาจักรดังกล่าว แต่ย้ำจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับผลกระทบของ sodium benzoate ซึ่ง FSA สหราชอาณาจักรเห็นว่าสารตัวนี้ยังปรากฎผลกระทบต่อเด็กที่ไม่ชัดเจน แต่มีผลต่อความการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต่อเนื่องของความประพฤติ ดังนั้นจึงไม่สามารถพิจารณาโดดๆได้
ที่มา : CEE-Foodindustry